การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

33 สิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนเมื่อถึงแก่ความตายหรือสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่หากก่อนสิ้น สภาพการเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบตามเงื่อนเวลาที่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะได้รับ ประโยชน์ทดแทนแล้ว ให้ผู้ประกันตนนั้นมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือคลอดบุตร หรือกรณีทุพพลภาพหรือตาย ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้น สภาพการจ้าง หรือตามระยะเวลาที่กาหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินสิบสองเดือนนับแต่ วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (2) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตน โดย จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และความเป็นผู้ประกันตน สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 (2) สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง โดยจะต้องยื่นแบบแสดงความจานง สมัครภายในหกเดือนนับนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนหรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง (3) ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม โดยกาหนดไว้ว่า บุคคลใดซึ่งมิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือไม่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติ นี้อาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยแสดงความจานงต่อสานักงาน ทั้งนี้ คุณสมบัติของบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของ ประโยชน์ทดแทนที่จะได้รับตามมาตรา 54 ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิ ในการรับ ประโยชน์ทดแทนให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตาม อัตราที่กาหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนตาม วรรคหนึ่ง และกิจการหรือลูกจ้างบางประเภทที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยกาหนดไว้ในมาตรา 4 ดังนี้ (1) ข้าราชการและลูกจ้างประจาของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น (2) นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษา ซึ่งเป็นลูกจ้างของ โรงเรียนสถานพยาบาล วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยนั้น (3) ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (4) กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กาหนดในพระราชกฤษฎีกา สาหรับแหล่งที่มาของเงินกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 21 ให้จัดตั้ง กองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสานักงานประกันสังคม เรียกว่า กองทุนประกันสังคม เพื่อเป็นทุนใช้ จ่ายให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 3 และเป็นค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 24 วรรคสอง โดยมาตรา 22 กาหนดไว้ว่า กองทุนประกอบด้วย ดังนี้ (1) เงินสมทบจากรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และ มาตรา 46 (2) เงินเพิ่มตามมาตรา 39 มาตรา 49 และมาตรา 53 (3) ผลประโยชน์ของกองทุนตามมาตรา 26 (4) เงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 45 (5) เงินที่ได้รับจากการบริจาคหรือเงินอุดหนุน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3