การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 (6) เงินที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา 47 มาตรา 47 ทวิ มาตรา 50 มาตรา 53 และมาตรา 56 (7) เงินอุดหนุนหรือเงินทดรองราชการที่รัฐบาลจ่ายตามมาตรา 24 วรรคสาม (8) เงินค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบตามมาตรา 102 (9) รายได้อื่น สรุปได้ว่าลูกจ้างที่ใช้สิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ภายใต้ระบบประกันสังคมนั้นย่อมได้รับ การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลและสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิของ ลูกจ้างไว้อย่างชัดเจน หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างสถานพยาบาลกับสานักงาน ประกันสังคมและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างสถานพยาบาลคู่สัญญา การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของกองทุนประกันสังคมระหว่างสถานพยาบาล กับสานักงานประกันสังคมและการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระหว่างสถานพยาบาลคู่สัญญา ด้วยกันเป็นไปตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ของสานักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระเบียบและสานักงานประกันสังคม ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม และหนังสือสานักงานประกันสังคม โดยสามารถจาแนกรายละเอียดได้ ดังนี้ สัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประจาปี 2564 ได้กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลง ดังนี้ ข้อ 1 ตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประจาปี 2564 กาหนดไว้ว่า “บริการทางการแพทย์ หมายความว่า บริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลตามที่ระบุไว้ในเอกสารผนวก 2 แนบท้ายสัญญา และข้อ 4 ที่สานักงานประกันสังคมประกาศ และกาหนดความหมายของสถานพยาบาลใน ระดับที่สูงกว่า หมายความว่า สถานพยาบาลที่สถานพยาบาลตามสัญญานี้ส่งต่อหรือ สถานพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคเพื่อให้การบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนที่เกินขีด ความสามารถที่สถานพยาบาลตามสัญญานี้จะให้การบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนได้” ข้อ 3 ข้อตกลงว่าจ้าง ตามข้อ 3.1 กาหนดไว้ว่า “สานักงานตกลงจ้างและ สถานพยาบาลตกลงรับจ้างทาการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน โดยสถานพยาบาล จะต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนเต็มกาลังความสามารถของแพทย์และต้องจัดหา ยา เวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ เพื่อให้บริการทาง การแพทย์แก่ผู้ประกันตนตามสัญญานี้อย่างเพียงพอจนสิ้นสุดการรักษา และข้อ 3.2 การให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนตามข้อ 3.1 สถานพยาบาลจะต้องให้บริการแก่ ผู้ประกันตนทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และทาการรักษาพยาบาลตามข้อกาหนดและ มาตรฐานที่คณะกรรมการการแพทย์ได้กาหนดขึ้น ข้อ 4 หน้าที่ของสถานพยาบาล ตามข้อ 4.1 กาหนดไว้ว่า “สถานพยาบาล ต้องให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนไม่ต่ากว่าการให้บริการแก่คนไข้อื่นในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3