การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
39 2) หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณี เจ็บป่วยฉุกเฉินของระบบประกันสังคม การ ใช้สิท ธิรักษ าพยาบ าลก รณี เจ็บป่วยฉุก เฉิน ตามป ระกาศ คณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และจานวนเงิน ทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ข้อ 3 “เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง โรคหรืออาการของโรคซึ่งเกิดขึ้นโดยเฉียบพลันที่ มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือจาเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล เร่งด่วน” ส่วนคาว่า “ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายถึง การได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันที เพื่อแก้ไขระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือดหรือระบบประสาทแล้วผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิต ได้สูง หรือทาให้การบาดเจ็บหรืออาการของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ขึ้นได้อย่างฉับไว หรือทาให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิด ภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการ ช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น” สาหรับกรณีที่ผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินตามข้อ 4 ของ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และ จานวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 กาหนดไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ฉุกเฉินอันมิใช่เนื่องจากการทางานและมีความจาเป็นทาให้ไม่สามารถไปรับบริการทาง การแพทย์จากสถานพยาบาลที่สานักงานกาหนดสิทธิในการรับบริการทางการแพทย์สาหรับ ผู้ประกันตนนั้น เมื่อผู้ประกันตนได้เข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลอื่น ให้สานักงานจ่ายเงินเป็นค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาล ที่ให้บริการทางการแพทย์” กล่าวโดยสรุปคือ กรณีจาเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์ เนื่องจากประสบอันตรายจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตาม ความจาเป็น โดยสามารถจาแนกออกได้เป็น 2 กรณี ดังนี้ 1) กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลของรัฐ (1) ประเภทผู้ป่วยนอก จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็น (2) ประเภทผู้ป่วยใน (ก) ค่าบริการทางการแพทย์ ตามจานวนเท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกินเจ็ดสิบสองชั่วโมงโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ หากมี วันหยุดราชการในช่วงระยะเวลาไม่เกินเจ็ดสิบสองชั่วโมงนั้น ให้นับรวมค่าบริการทางการ แพทย์ในวันหยุดราชการด้วย (ข) ค่าห้องและอาหาร ตามจานวนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินวันละเจ็ดร้อย บาทภายในระยะเวลาไม่เกินเจ็ดสิบสองชั่วโมงโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ หากมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3