การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
41 2.3.2.2 หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1) หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยทั่วไปของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถือว่ามาจากระบบภาษีทั่วไปของ รัฐบาลทั้งนี้ในแต่ละปีสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งคานวณงบเหมาจ่ายรายหัวที่ ต้องการและเจรจาต่อรองกับสานักงบประมาณเพื่อตั้งงบเหมาจ่ายรายหัว และงบบริหาร จัดการของสานักงาน ทั้งนี้ การบริหารจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวของสานักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้การกากับของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจะมี การจัดสรรงบประมาณสาหรับบริการต่าง ๆ พร้อมทั้งกาหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรและการ จ่ายค่าบริการแต่ละประเภท เช่น บริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยใน บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค งบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกองทุนค่าใช้จ่ายสูงบริหารโรคเฉพาะ ฯลฯ สานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะทาสัญญาซื้อขายบริการกับทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในช่วงที่ผ่านมาสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติส่วนกลางเป็นผู้ซื้อบริการโดยตรงกับ เครือข่ายบริการ แต่ในอนาคตมีแผนที่จะให้สานักงานสาขาเขตทาหน้าที่ซื้อบริการเอง โดยกาหนดวงเงินงบประมาณที่แต่ละเขตจะได้รับ ทั้งนี้ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ดาเนินบทบาทการคุ้มครองสิทธิแก่ประชาชนด้วย ขณะเดียวกันก็กากับการดาเนินงานของ สถานพยาบาลคู่สัญญาให้เป็นไปตามข้อตกลงมีกลไกการตรวจสอบและเบิกจ่ายค่าบริการ ภายในสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเองเนื่องจากเป็นหน่วยงานอิสระผ่านใต้การกากับ ของรัฐ การกากับการดาเนินงานของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดาเนินการ โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะเดียวกันก็ต้องรายงานตรงต่อรัฐบาลและ รัฐสภา และต้องผ่านการตรวจสอบของสานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) (สัมฤทธิ์ ศรีธารง สวัสดิ์ ถาวร สกุลพาณิชย์, พัชนี ธรรมวันนา, และบุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, 2552, หน้า 47 – 48) ในขณะเดียวกันจากการศึกษาของ ( พิทักษ์พล บุณยมาลิก, และธิดา จิตมณีวัต, 2564, หน้า 486) เกี่ยวกับแนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัดสานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข โดยเห็นว่า การกันเงินงบประมาณไว้ที่ส่วนกลางมีผลต่อการออกแบบระบบ ประกันสุขภาพ ดังตัวอย่าง เช่น สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปลี่ยนวิธีการ จัดสรรงบประมาณโดยจาแนกเป็นงบประมาณผู้ป่วยนอก (Out-patient : OP) งบประมาณ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และงบประมาณผู้ป่วยใน (In-patient: IP) ซึ่งงบประมาณ สาหรับผู้ป่วยนอก (Out-patient : OP) นั้น สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดาเนินการโอนงบประมาณทั้งก้อนไปยังหน่วยบริการแต่ทว่างบประมาณผู้ป่วยใน (In- patient: IP) สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กันเงินไว้ที่ส่วนกลาง ใน ปัจจุบันได้กันไว้ในระดับเขตสุขภาพ เพื่อให้หน่วยบริการเบิกจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) ช่วยลดความเสี่ยงของหน่วยบริการที่ต้องแบกรับภาระ โรคค่ารักษาสูง โดยแยกงบประมาณโรคต้นทุนค่ารักษาสูง (high cost care) ออกมาเป็น กองทุนเฉพาะที่ส่วนกลางเพื่อสร้างหลักประกันว่าคนไข้จะได้รับบริการจริง ส่งผลดีต่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3