การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 เจ็บป่วยฉุกเฉิน/บริการโรคเฉพาะ/ยาจาเป็นและยาที่มีปัญหาการเข้าถึง เพื่อบริหารจัดการ ระบบรับส่งต่อผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างหน่วย บริการรับส่งต่อและการจ่ายค่าบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม คือ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยเมื่อเกิน ขีดความสามารถของจังหวัดเมื่อถูกส่งต่อ ให้หน่วยบริการรับส่งต่อมั่นใจว่ามีการจ่ายที่ เหมาะสม คุ้มครองหน่วยบริการประจาที่ส่งต่อ และพัฒนาระบบจัดการให้มีประสิทธิภาพลด ภาระการทางานด้านเอกสารทั้งการเรียกเก็บและการตามจ่ายทั่วประเทศ ทั้งนี้ โดยมีการ บริหารจัดการกรอบวงเงินงบประมาณ คือ เป็นงบประมาณที่กันมาจากเงินเพื่อบริการทาง การแพทย์เหมาจ่ายรายหัว บริหารแบบกองทุนกลาง และสปสช. จะจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการ รับส่งต่อตามผลงานการให้บริการหลังจากมีการให้บริการและส่งข้อมูลเข้าในระบบและได้รับ การพิจารณาอนุมัติจากหน่วยบริการประจา และสปสช. เป็นผู้หักชาระบัญชีระหว่างกันแทน หน่วยบริการ (สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2563, หน้า 3 - 8) จากหลักการดังกล่าวจึงสรุปได้ว่ารูปแบบวิธีการจ่ายเงิน เหมาจ่ายราย หัวสาหรับบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และผู้ป่วยนอก (capitation) งบประมาณ จากัดวงเงินรวมถึงน้าหนักตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups : DRGs) และจ่ายตามปริมาณบริการหรือรายป่วยเฉพาะกรณีสาหรับบริการผู้ป่วยใน และจากการศึกษา ยังพบว่าระบบการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้กาหนด รายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเกี่ยวกับระบบส่งต่อโดยให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบ ส่งต่อจังหวัดเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการในการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ประชาชนได้รับการดูแลรักษาพยาบาลและได้รับบริการทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ มีการส่งต่อเพื่อรักษาในระดับสูงที่เกินศักยภาพและมีการบริหารจัดการระบบการเบิกจ่าย ชดเชยค่าบริการสาธารณสุขในลักษณะของกรณีการรับส่งต่อผู้ป่วยนอกข้ามเขตจังหวัดให้จ่าย แบบร่วมจ่ายกับหน่วยบริการประจาโดยหน่วยบริการประจาจ่ายส่วนที่ไม่เกินเพดานต่อครั้ง บริการที่กาหนด และในส่วนที่เหลือให้ สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทาหน้าที่ในการหักชาระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจา 2) หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทาง การแพทย์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิบริการสาธารณสุขของผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2560 ผู้มีสิทธิ สามารถเข้ารับบริการจากสถานบริการที่อื่นนอกเหนือจากหน่วยบริการประจาได้ซึ่งเป็นไป ตามที่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ว่า “เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้บุคคลนั้นมีสิทธิเข้ารับ บริการจากที่อื่นได้ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการกาหนด โดยคานึงถึงความสะดวกและความ จาเป็นของผู้ใช้สิทธิรับบริการและให้สถานบริการที่ให้บริการนั้นมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจาก กองทุน” โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกข้อบังคับเพื่อกาหนดสิทธิการ เข้ารับบริการสาธารณสุข เพื่อให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3