การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
50 จากหลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์กรณี ทั่วไปของระบบสวัสดิการข้าราชการจึงสามารถสรุปได้ว่าระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของ ข้าราชการจะมีกฎหมายกาหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ ระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการอยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง ผู้มีหน้าที่ออกหลักเกณฑ์และวิธีการเบิก จ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลโดยมีกรมบัญชีกลางทาหน้าที่ดูแล และรับผิดชอบ ในการออกหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตรา การเบิกจ่ายเงิน และการเบิกจ่ายเงินทั้งระบบโดยตรง ซึ่งแหล่งที่มาของเงินทุนของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ มาจากการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายกลางของสานักงบประมาณให้กับกรมบัญชีกลางตามวงเงินที่ระบุใน พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจาปี (กนิษฐา สุขสมัย, 2561, หน้า 55 - 61) 2) หลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินของระบบสวัสดิการข้าราชการ คาว่า “ผู้ป่วยฉุกเฉิน” ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 มาตรา 3 วรรสอง หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่ง เป็นภยันตรายต่อการดารงชีวิตหรือการทางานของอวัยวะสาคัญ จาเป็นต้องได้รับการ บาบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นจากการบาดเจ็บหรือ อาการป่วยนั้น ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวของสิทธิสวัสดิการข้าราชการที่เป็นผู้ป่วย ฉุกเฉินจะได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับ การรักษาพยาบาล (ฉบับบที่ 2) พ.ศ. 2555 มาตรา 8 (3) กาหนดไว้ว่า “การเข้ารับการ รักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่ผู้ มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน” กรณี ดังกล่าวนี้ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลใดก็ได้ที่ใกล้ที่สุด ต่อมากระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน สถานพยาบาลเอกชน กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2560 กล่าวคือ ตามประกาศฉบับดังกล่าว ข้อ 4 กาหนดไว้ว่า “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของ เอกชน ทั้งกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยตนเองหรือโดยการส่งตัวให้เข้ารับการ รักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน หากได้รับการวินิจฉัยจากระบบการคัดแยกผู้ป่วย ฉุกเฉินของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินว่าเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามประกาศ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน และมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉิน ผู้มีสิทธิมีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการ กาหนดค่าใช้จ่ายในการดาเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้ทาการรักษาว่าพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานพยาบาลของทางราชการได้ ทั้งนี้ ไม่เกินเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3