การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
51 และข้อ 5 การเบิกค่ารักษาพยาบาลในข้อ 4 ให้สถานพยาบาลของเอกชนเป็นผู้เบิกค่า รักษาพยาบาลแทนผู้มีสิทธิในระบบเบิกจ่ายของสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากหลักการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อบริการทาง การแพทย์กรณีฉุกเฉินของระบบสวัสดิการข้าราชการ จึงสามารถสรุปได้ว่า ตามประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน สถานพยาบาลเอกชน กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน พ.ศ. 2560 ได้กาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกตามข้อ 5 และข้อ 7 ได้กาหนด ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจนถึงระยะเวลา 72 ชั่วโมงให้ สถานพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไปที่สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหาก พ้นช่วงระยะเวลาดังกล่าวไปแล้วนั้นย่อมเป็นไปตามข้อ 6 ที่ได้กาหนดไว้ว่ากรณีการ รักษาพยาบาลพ้นจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว ให้สถานพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้จากระบบของ ผู้มีสิทธิหรือเรียกเก็บจากผู้ป่วย เพราะตามประกาศฉบับนี้ได้กาหนดรับรองคุ้มครองสิทธิไว้ เฉพาะด้านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติเท่านั้น ทั้งนี้ พบว่าสาหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ป่วยฉุกเฉินแบบไม่รุนแรงให้สถานพยาบาลที่รับรักษาดาเนินการเรียกเก็บจากกรมบัญชีกลาง หรือจากหน่วยงานต้นสังกัดตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับดังกล่าว (หนังสือ กรมบัญชีกลาง ที่ กค 0416.4/ ว 333 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560) 2.3 . 3 เปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบส่งต่อ บริการทางการแพทย์ของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ สวัสดิการด้านสุขภาพของคนไทยทั้งประเทศประกอบด้วย 3 ระบบหลักสุขภาพ ได้แก่ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพถ้วน หน้า จากการศึกษาพบว่าทั้ง 3 ระบบ ให้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วย ต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากทั้งสามระบบมีที่มาและบริบทที่แตกต่างกัน ระบบบริหาร จัดการกองทุนจึงมีความแตกต่างกันในหลายประเด็น มีผลกระทบต่อการได้รับบริการสุขภาพ ของประชาชนในระบบประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่เป็นสิ่งสาคัญส่งผลกระทบ ต่อการรักษาพยาบาลคือระบบการเบิกจ่ายหรือรูปแบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ เพราะ ที่มาของแหล่งงบประมาณ รูปแบบการเข้ารับบริการ สถานพยาบาลในโครงการและระบบการ เบิกจ่าย เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าแม้จะให้สิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกัน แต่รายละเอียดในการได้รับ สิทธิในการรักษาพยาบาลของแต่ละระบบยังคงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ประกันตนใน ระบบประกันสังคมและนายจ้างจะต้องร่วมจ่ายเงินสมทบเพื่อให้ได้สิทธิ แต่ผู้มีสิทธิอีก 2 ระบบ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐโดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ ส่วนผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการสามารถใช้บริการจากสถานพยาบาลในระบบได้ทุกแห่ง ในขณะที่ ผู้มีสิทธิของอีก 2 ระบบ จะต้องลงทะเบียนเลือกสถานพยาบาลประจาตัวและหากจาเป็นต้อง ได้รับบริการจากสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าจะต้องใช้สิทธิผ่านระบบส่งต่อการ รักษาพยาบาล ซึ่งสามารถจาแนกรายละเอียดของความแตกต่างเกี่ยวกับระบบการเบิกจ่ายได้ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3