การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

53 ที่มา : ข้อมูลจากสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง และสานักงาน ประกันสังคม โดยเป็นการรวบรวมประมวลผลโดยผู้วิจัย ดังนั้น จากการเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายระบบ ส่งต่อบริการทางการแพทย์ของระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบ จึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการจ่ายค่ารักษพยาบาลที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นเป็นความเหลื่อมล้าที่ทาให้ผู้มี สิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพมากหรือน้อยกว่าที่จาเป็นต้องได้รับตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดี เพราะหากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบเดียวกันประชาชนในทุกระบบจะได้รับบริการ ทางการแพทย์ที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่หากใช้รูปแบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ทาให้ ได้รับบริการทางการแพทย์มากกว่าที่จาเป็น จะเกิดภาระค่าใช้จ่ายสูงต่อระบบงบประมาณ และในทางตรงกันข้ามหากใช้รูปแบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ทาให้ได้รับบริการน้อยกว่าที่ จาเป็นอาจสร้างปัญหาด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล เพราะฉะนั้น การเลือกใช้รูปแบบการ จ่ายค่ารักษาพยาบาลจึงต้องคานึงถึงความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพที่พึงประสงค์ทั้ง ในด้านการเข้าถึงในด้านคุณภาพบริการและในด้านความเป็นธรรมทางสุขภาพ รวมถึง การพัฒนาทางเทคโนโลยีการแพทย์อย่างต่อเนื่องและการได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อการบริหาร อย่างมีประสิทธิภาพ และหากสามารถควบคุมงบประมาณได้โดยไม่มีผลกระทบต่อการเข้าถึง บริการและคุณภาพการรักษาพยาบาลย่อมจะรองรับบริบทสุขภาพในประเทศไทยโดยเฉพาะ การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีส่งต่อ และการเหมาจ่ายรายหัวที่ใช้กับผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมมีต้นทุนต่าในการบริหารจัดการจัดสรรงบเหมาจ่าย แต่ค่าใช้จ่ายในการรวบรวม ข้อมูลบริการและการตรวจสอบประเมินการบริการจะสูง และอาจต้องมีมาตรการเพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการดูแลสุขภาพของประชากรไทย ที่เป็นข้อจากัดใ นการจ่าย ค่ารักษาพยาบาลกรณีส่งต่อ (ทัสนีย์ จันทร์น้อย, 2556, หน้า 1 - 5) 2.4 แนวคิดรัฐสวัสดิการสุขภาพ สวัสดิการ (Welfare) เป็นเรื่องที่คนทั่วไปถือว่ารัฐต้องเป็นผู้จัดหาให้โดยไม่แสวงหากาไร และเป็นบริการที่ให้เปล่า และความหมายของคาว่า “สวัสดิการ”ตามพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การให้สิ่งที่เอื้ออานวยให้ผู้ทางานมีชีวิตและสภาพความ เป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาลให้ที่พักอาศัยจัดรถรับส่ง (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 ) โดยมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของสวัสดิการไว้ หลากหลายแนวคิด กล่าวคือ สวัสดิการ (Benefits)เป็นค่าตอบแทนที่องค์กรกาหนดขึ้นในการ ตอบแทนที่ได้เข้าร่วมงานกับองค์กรเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญกาลังใจในการทางานและ การดาเนินชีวิตที่ถูกต้องปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า “ผลประโยชน์เกื้อกูล” หรือ “ผลตอบแทน ทางอ้อมก็ได้” (นิวัช แก้วจานงค์, 2552, หน้า 171) ในขณะเดียวกัน “สวัสดิการ” หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่หน่วยราชการหรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การนั้น ๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทางานมีความมั่นคงในอาชีพมี หลักประกันที่แน่นอนในการดาเนินชีวิต หรือประโยชน์อื่นนอกเหนือจากเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ ได้รับอยู่เป็นประจาเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกาลังใจที่ดี เพื่อจะได้ใช้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3