การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
54 ความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ของตนในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ (วิทยา ตันติเสวี, 2549, หน้า 289) จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า สวัสดิการ หมายถึงสิทธิประโยชน์ตอบแทน อื่น ๆ ที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือจากเงินค่าจ้างตามที่กฎหมาย กาหนดและ นอกเหนือจากที่กฎหมายกาหนดเพื่อตอบแทนการทางาน สร้างแรงจูงใจในการทางานอานวย ความสะดวกสบายในขณะทางานและเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทา งานและ การดารงชีวิต เมื่อพ้นสภาพจากการทางานแล้วซึ่งอาจครอบคลุมไปถึงบุคคลในครอบครัวของ ลูกจ้างด้วย สาหรับรูปแบบรัฐสวัสดิการทางสังคมเกี่ยวกับด้านสุขภาพของต่างประเทศมีความ หลากหลายรูปแบบ กล่าวคือ ราชอาณาจักรสวีเดนได้ให้ความสาคัญด้านสาธารณสุขและ ด้านสังคมแก่ประชาชนซึ่งมีการกล่าวว่าประเทศทีเปรียบเสมือนบ้านของประชาชน ซึ่งถือว่า มีความแข็งแกร่งและเน้นการให้บริการมากที่สุดในโลกโดยมีปรัชญาที่ว่าผลประโยชน์ขึ้นอยู่กับ ความต้องการและกระจายโดยทั่วถึงแก่ประชาชนตามความต้องการที่มีอยู่ในแบบของการ กระจายแบบสถาบันและยังได้รวมหลักเกณฑ์ของการจัดสรรสวัสดิการสังคมกับสิทธิความเท่า เทียมกันของมนุษย์ให้กระจายไปยังประชากรภายในประเทศอย่างทั่วถึง(ณัฐธยาน์ ว่องวงศา รักษ์, 2555, หน้า 53) ส่วนประเทศอังกฤษในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการด้านหลักประกันสุขภาพให้แก่ ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันได้จัดปัจจัยพื้นฐานที่จาเป็นสาหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับบริการรักษาพยาบาลและป้องกันโรคโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เนื่องจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลมีค่าใช้จ่ายจานวนสูง ดังนั้น ประเทศอังกฤษจึงได้ใช้ระบบ การจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้าจากประชาชน คือ เก็บภาษีจากคนรวยในอัตราต่อรายได้สูงกว่า คนจนมาก ซึ่งเงินภาษีที่จัดเก็บมาได้รัฐจะนามาเป็นค่าใช้จ่ายบริการทา งสังคม เรียกว่า “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” และรัฐสวัสดิการของประเทศนิวซีแลนด์ คือ การจัดสวัสดิการ ด้านสุขภาพให้กับประชาชน โดยให้มีระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุมประชากรทั้งหมด เป็นระบบบริการสุขภาพโดยรัฐมีหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพและกาหนดสิทธิประโยชน์อย่างชัดเจน ซึ่งระบบการเงินมาจากภาครัฐร้อยละ 80 ของค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพที่รัฐให้การสนับสนุน ส่วนที่เหลือมาจากเงินที่บุคลคลจ่ายเองและประกันสุขภาพเอกชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม จ่ายตามอัตราที่รัฐกาหนดและช่วยเหลือผู้พิการและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการเข้าถึงบริการ สุขภาพ (สงวน นิตยารัมภ์พงศ์, 2543, หน้า 3) สาหรับประเทศไทยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) รัฐสวัสดิการสุขภาพของไทย มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบของสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่รัฐจัดให้กลุ่มข้าราชการและ ครอบครัว รูปแบบสวัสดิการของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รัฐจัดให้ประชาชนทั่วไป และ รูปแบบสวัสดิการประกันสังคมที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนผู้ทางานในภาคเอกชน โดยรัฐสวัสดิการ ในความหมายของ จอน อึ้งภากร อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักพัฒนาสังคม คือ ระบบรัฐสวัสดิการเป็นระบบโครงสร้างทางสังคมที่รัฐทาหน้าที่ดูแลกากับให้ประชาชนทุกส่วน มีหลักประกันด้านคุณภาพชีวิตในระดับที่พออยู่พอกินอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งมักจะประกอบด้วย หลักประกันถ้วนหน้าด้านที่อยู่อาศัย สุขภาพ การศึกษา รายได้ และด้านบริการสังคมอื่น ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3