การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

55 ที่มีความจาเป็นสาหรับคุณภาพชีวิต เรียกได้ว่าเป็นระบบสวัสดิการที่ทุกคนมีสิทธิได้รับ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน และเป็นสิ่งที่รัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการให้สวัสดิการพื้นฐาน แก่ประชาชนทุกคนที่จะอยู่ดีกินดีในลักษณะที่มีความเท่าเทียมกัน จึงถือว่าเป็นสิทธิของ ประชาชนที่จะได้รับสวัสดิการที่รัฐจัดให้ซึ่งไม่ใช่เป็นรางวัลหรือความเมตตาจากรัฐ แต่เป็นสิทธิ พื้นฐานของประชาชนทุกคนที่จะได้รับการดูแลจากรัฐเป็นบทบาทของรัฐที่มีภารกิจต้องดูแล ทุกข์สุขของประชาชน รัฐต้องให้หลักประกันทางสังคมกับประชาชนทุกคนให้มีมาตรฐาน คุณภาพชีวิตอย่างน้อยขั้นต่าให้ชัดเจนและเสมอภาคเท่าเทียมกัน เช่น การเข้าถึงบริการ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล (เจาะลึกระบบสุขภาพ, สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก https://www.hfocus.org/content ) รัฐสวัสดิการ (Welfare Stae Theory) ได้มีนักวิชาการของต่างประเทศและไทย อีกหลายท่านได้ให้ความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน เบอร์ตัน อัลเลน (Burton Allen, 1975) เชื่อว่าสถานภาพและบทบาทขององค์การประชาสังคมขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐ ในการให้สวัสดิการสังคมแก่ประชาชนถ้ารัฐสามารถจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนมาก บทบาทขององค์การประชาสังคมก็จะมีน้อยลง อย่างไรก็ตามบางสถานการณ์ยังขึ้นกับว่า รัฐบาลมีการรวมศูนย์อานาจอย่างไรด้วย (อภินันท์ จันตะนี, 2561, หน้า 294) จึงกล่าวได้ว่า รัฐสวัสดิการ คือการที่รัฐเข้ามาจัดสร้างงสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สิทธิ แก่ประชาชนเกี่ยวกับบริการสาธารณะให้กระจายไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงโดยจัดบริการ ให้ประชาชนทุกคนมีความมั่นคงในการดารงชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในด้านการศึกษา สุขภาพอนามัยและเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคม (กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล, 2549, หน้า 4) ดังนั้น รัฐหรือประเทศที่มีการจัดระบบสวัสดิการสังคม อย่างทั่วด้านให้แก่ประชาชนภายในประเทศทุกคน โดยมีลักษณะทั่วไป 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก รัฐประกันรายได้ขั้นต่าของทุนในสังคมโดยรัฐต้องประกันรายได้ขั้นต่าไม่ต้องคานึง ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใคร ทางานอะไร มีทรัพย์สินมากน้อยเพียงใด ประการที่สอง คือ สร้างความ มั่นคงในชีวิต โดยมีหลักประกันทางรายได้และปลอดภัยจากภาวะวิกฤติ ให้แก่ทุกคนที่เป็น พลเมืองของรัฐ และประการสุดท้าย คือ การให้พลเมืองทุกคนโดยไม่เลือกกลุ่มคนชนชั้นและ สถานภาพได้รับบริการสังคมอย่างเสมอหน้าด้วยกันตามมาตรฐานที่ดีที่สุดอย่างเท่าเทียมกัน (มูลนิธินิคมจันทรวิทุร. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2563, จาก www.nikomfoundation. org.) ดังนั้น จากแนวคิดข้างต้นเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ระบบการ จัดบริการทางสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมและพัฒนาสังคม รวมทั้งส่งเสริมความ มั่นคงทางสังคม เพื่อพัฒนาให้ประชาชนสามารถดารงชีวิตในสังคมได้ และการจัดระบบบริการ ดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อความต้องการและเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดารงชีวิตของ ประชาชนให้ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงเป็นธรรมเท่าเทียมกันทุกด้าน และ จากแนวคิดดังกล่าวสามารถนามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครอง สิทธิของผู้ประกันตนเกี่ยวกับระบบสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่า เทียมและเสมอภาคกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในสถานะใด (พงษ์เทพ สันติกุล, 2562, หน้า 37 - 42)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3