การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
56 2.5 ทฤษฎีว่าด้วยการบริการสาธารณะ ความหมายของคาว่า “การบริการสาธารณะ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง กิจการอันจาเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวมที่รัฐหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทาขึ้นเพื่อบริการแก่ประชาชน เช่น กิจการสาธารณูปโภค กิจการขนส่งคนโดยสาร (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. 2563) ดังนั้น การบริการสาธารณะจึงเป็นสิ่งที่หน่วยราชการที่มีอานาจหน้าที่จัดทาบริการในการตอบสนอง ต่อความต้องการในการดารงชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม เพื่อให้เกิดความพึงพอใจโดยใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่ของหน่วยราชการ คาว่า “บริการสาธารณะ” ได้มีนักวิชาการต่าง ๆ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติได้ให้ ความหมาย ไว้อย่างหลากหลาย กล่าวคือ โทมัส อาร์ ดาย (Thomas R.Dye, 1978) ได้ให้ ความหมายของ นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทาหรือไม่กระทา สิ่งที่รัฐบาล เลือกที่จะกระทาจึงครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของรัฐบาลทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร และ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส ในส่วนของการเลือกที่จะไม่กระทานั้น Dye ก็ถือว่าเป็น นโยบายสาธารณะเช่นเดียวกัน อาทิเช่น การที่รัฐบาลบางประเทศยกเลิกนโยบายการเกณฑ์ ทหาร นั่นคือ รัฐบาลเลือกที่จะไม่บังคับชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหารรับใช้ชาติ แต่เปลี่ยนเป็นการรับตามความสมัครใจ สาหรับ เจมส์ แอนเดอร์สัน ( James E.Anderson, 1994) ได้ให้ความหมายของนโยบายสาธารณะ คือ แนวทางการปฏิบัติหรือการกระทา ซึ่งมีองค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติหรือชุดของผู้กระทาที่จะต้องรับผิดชอบในการ แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมโดยมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า สิ่งใดที่จะต้องกระทาให้สาเร็จ มิใช่สิ่งที่รัฐบาลเพียงแต่ตั้งใจกระทาหรือเสนอให้กระทาเท่านั้น เป็นการจาแนกให้เห็นความ แตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนโยบายกับการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งเป็นประเด็นสาคัญระหว่างการ เลือกทางเลือกที่ต้องเปรียบเทียบกัน สาหรับองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะตามแนวคิด ที่ เจมส์ แอนเดอร์สัน (James Anderson) ได้นาเสนอไว้เป็นหลักประกอบกับการประมวล พิจารณาเทียบเคียงและหยิบยกแนวคิดของนักวิชาการอื่น ๆ มาประกอบเป็นองค์ประกอบของ นโยบายสาธารณะ 6 ประการ ได้แก่ 2.5.1 นโยบายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทาที่มีเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ ชัดเจนมากกว่าการกระทาโดยบังเอิญหรือไม่ตั้งใจ 2.5.2 นโยบายประกอบด้วยชุดหรือแบบแผนการกระทาที่ต่อเนื่องกันมากไปกว่าการ ตัดสินใจเฉพาะเรื่อง และการตัดสินใจที่แยกจากกัน 2.5.3 นโยบายสาธารณะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องในเชิงนโยบาย หรือการ เรียกร้องของผู้ขอให้มีการกระทาหรืองดเว้นการกระทาในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณะ 2.5.4 นโยบายเกี่ยวข้องกับสิ่งที่รัฐบาลกระทาจริง ๆ ไม่เป็นเพียงสิ่งที่ตั้งใจจะทา หรือ พูดว่าจะทา 2.5.5 นโยบายสาธารณะอาจเป็นได้ทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3