การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

58 รวมทั้งควบคุมค่าบริการ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ตอบแทนมากที่สุดและ เดือดร้อนน้อยที่สุด ประการที่สอง บริการสาธารณะจะต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสาธารณะประโยชน์โดย ความต้องการส่วนรวมของประชาชนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความต้องการที่จะมีชีวิต อยู่อย่างสุขสบายและความต้องการที่จะอยู่อย่างปลอดภัย ดังนั้น บริการสาธารณะที่รัฐจัดทา จึงต้องมีลักษณะที่สนองความต้องการของประชาชนทั้งสองประการดังกล่าว กิจการใดที่รัฐเห็น ว่ามีความจาเป็นต่อการอยู่อย่างปลอดภัยหรืออยู่อย่างสุขสบายของประชาชนรัฐจะต้องเข้าไป จัดทากิจการนั้นและนอกจากนี้ในการจัดทาบริการสาธารณะของรัฐไม่สามารถจัดทาบริการ สาธารณะเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้รัฐจะต้องจัดทาบริการ สาธารณะเพื่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน (สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ และ กุลสกาวว์ เลาหสถิต, 2562 ,หน้า 219 -225) หลักประกันสุขภาพเป็นบริการสาธารณะประเภทหนึ่งที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครอง อย่างเสมอภาคเท่าทียมกันตามหลักสิทธิมนุษยชน การที่รัฐจะให้บริการสาธารณะที่ดีนั้น จิดาภา พรยิ่ง (2560, หน้า 35 - 36) ได้กล่าวถึง จอห์นดี มิลเล็ท (John D. Millett) (Online, 2015) ประธานกิตติคุณของมหาวิทยาลัยไมอามีว่า มีแนวคิดการให้บริการสาธารณะ ที่มีวัตถุประสงค์สาคัญก็คือ การสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนในการให้บริการสาธารณะ และหน่วยงานของรัฐพึงยึดหลักการจัดให้บริการสาธารณะที่สาคัญ 5 ประการ คือ 1) การให้บริการอย่างเสมอภาค (Equitable service) ได้แก่ ความยุติธรรมในการ บริหารงานภาครัฐที่มีหลักการว่าประชาชนทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่มี การแบ่งแยกหรือกีดกันในการได้รับบริการสาธารณะและได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นปัจเจก บุคคลเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน 2) การให้บริการตรงต่อเวลา (Timely service) ได้แก่การให้บริการสาธารณะด้วย ความตรงต่อเวลาโดย Millett เชื่อว่าผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐจะไม่เกิด ประสิทธิผลถ้าไม่มีการตรงต่อเวลาและส่งผลในการสร้างความไม่พึงพอใจแก่ประชาชน 3) การให้บริการอย่างเพียงพอ (Ample service) ได้แก่ การให้บริการสาธารณะ ต้องมีจานวนการให้บริการในสถานที่ที่เหมาะสมเพียงพอ (The right quantity at the right geographical location) ซึ่ง Millett เชื่อว่า ความเสมอภาคและความตรงต่อเวลาจะไม่มี ความหมายถ้าเป็นการให้บริการที่ไม่เพียงพอและอาจสร้างความไม่ยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่ ผู้รับบริการ 4) การให้บริการอย่างต่อเนื่อง (Continuous service) ได้แก่การให้บริการ สาธารณะที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยยึดประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลักไม่ใช่ยึดตามความพึง พอใจของ หน่วยงานที่ให้บริการ 5) การให้บริการอย่างก้าวหน้า (Progressive service) ได้แก่การให้บริการ สาธารณะที่มีการปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถ ในการทาหน้าที่โดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม การให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนรัฐมีหน้าที่ต้อง คานึงถึงสาระสาคัญประกอบด้วย ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3