การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

59 (1) องค์กรผู้จัดทาบริการสาธารณะ กล่าวคือ บริการสาธารณะจัดทาขึ้นโดยมี จุดมุ่งหมายเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อส่วนรวมของประชาชนองค์กรที่มีหน้าที่จัดทาบริการ สาธารณะนั้น ประยูร กาญจนดุล (2538, หน้า 108) ได้กล่าวถึงไว้ว่า “บริการสาธารณะ หมายถึง กิจการที่อยู่ในความอานวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน” บริการสาธารณะเป็น กิจการที่อยู่ในการอานวยการหรือในความควบคุมของรัฐมีวัตถุประสงค์ในการสนองความ ต้องการส่วนรวมของประชาชน และวิธีดาเนินการย่อมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมต่อความจาเป็น จุดมุ่งหมายของการให้บริการสาธารณะ หมายความว่า การที่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะซึ่งอาจเป็นของรัฐหรือ เอกชนมีหน้าที่ในการส่งต่อการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม การบริการสาธารณะเป็นกิจการที่อยู่ใน อานาจของรัฐ ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งองค์กรส่วนท้องถิ่นขึ้นมา รัฐได้มอบหมายบริการสาธารณะ บางประเภทให้ไปจัดทาหรือมอบหมายให้ ภาคเอกชนรับไปจัดทากิจการบางประเภทเมื่อรัฐได้ มอบหมายหน้าที่ในการจัดทาบริการสาธารณะให้กับภาคเอกชนไปแล้วรัฐมีเพียงหน้าที่คอย ควบคุม มาตรฐานการให้บริการสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ตอบแทนได้มาก ที่สุดและเดือดร้อนน้อยที่สุดการจัดทาบริการสาธารณะที่อยู่ในอานาจของรัฐ ต้องเป็นสิ่งที่มี ความจาเป็นและสาคัญต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ กิจการที่ เกี่ยวกับความมั่นคง ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและการจัดสวัสดิการสังคมต่าง ๆ อย่างเช่น สวัสดิการเกี่ยวกับเด็กหรือคนพิการ สวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยโดยการจัดให้มีระบบ หลักประกันสุขภาพ เพื่อดูแลด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ การได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐเมื่อเจ็บป่วย ซึ่งการจัดให้ ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณะด้านหลักประกันสุขภาพ ถือว่าเป็นการให้บริการสาธารณะ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่และเป็นกิจการที่อยู่ในอานาจของรัฐ การที่รัฐจัดทาบริการสาธารณะเกี่ยวกับด้านสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งที่จาเป็น อีกทั้งยังเป็นความต้องการของคนส่วนรวมทั้งประเทศ ต่อการเป็นอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตของ ประชาชนเมื่อยามเจ็บป่วยย่อมมีความมั่นใจว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลดูแลจากรัฐ นับว่าระบบหลักประกันสุขภาพเป็นบริการสาธารณะที่เป็นสวัสดิการสังคมประเภทหนึ่งที่รัฐ จัดทาขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ (เทพศักดิ์ บุญรัตนพันธ์, 2536, หน้า 13) (2) หลักการพื้นฐานการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน กล่าวคือ หลักการ พื้นฐานของการให้บริการสาธารณะ คือ การที่รัฐเข้ามาจัดทาบริการสาธารณะมิได้มี จุดมุ่งหมายจัดทาเพื่อประโยชน์ของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นการจัดทาเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนทุกคน หากกิจการใดที่รัฐจัดทาเพื่อบุคคลใดโดยเฉพาะจะไม่เป็นลักษณะบริการ สาธารณะ ทั้งนี้ บริการสาธารณะจาเป็นต้องมีหลักเกณฑ์พื้นฐานสาคัญที่รัฐต้องคานึงถึงในการ จัดให้มีบริการสาธารณะ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3