การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

60 ข้อ 1 หลักว่าด้วยความเสมอภาคการให้บริการสาธารณะ คือ การจัดทา บริการสาธารณะ อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พื้นฐานของความเสมอภาคกันของประชาชนที่จะได้รับ บริการสาธารณะจากรัฐ เนื่องจากรัฐทาบริการสาธารณะก็เพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน มิได้จัดทาขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใด ประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับการปฏิบัติหรือได้รับ ประโยชน์จากบริการสาธารณะจากรัฐอย่างเสมอกัน หลักความเสทอภาคที่มีต่อบริการ สาธารณะเป็นหลักพื้นฐานมีที่มาจากคาประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Declaration des droids de l’ home et du citizen ) ลงวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ว่าหลักว่าด้วยความเส ทอภาคที่มีต่อบริการสาธารณะเป็นการรับรองขั้นพื้นฐานของสิทธิที่จะเสมอภาคกันทาง กฎหมายอันหมายถึงความเสมอภาคทางด้านสถานภาพของผู้ใช้บริการและความเสมอภาคใน ระหว่างคู่สัญญา ขณะที่มีคาวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดของประเทศฝรั่งเศส คดี Comely ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 ถือว่าเป็นการสร้างหลักกฎหมายทั่วไปขึ้นมาเพื่อรองรับ ความเสมอภาคของผู้ใช้บริการสาธารณะโดยวางหลักไว้ว่า “ผู้ใช้บริการสาธารณะทุกคนที่ใช้ บริการสาธารณะประเภทเดียวกันย่อมอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกัน”และต่อมามีคาวินิจฉัยคดี Society des concerts du conservatoire ลงวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1951 กล่าวถึง หลักแห่ง ความเสมอภาคในการดาเนินการจัดทาบริการสาธารณะว่า “คนทุกคนซึ่งใช้บริการสาธารณะ เดียวกันจะต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน” (นันทวัฒน์ บรมานันท์, 2557, หน้า 347 - 348) สาหรับประเทศไทยนั้นหลักความเสมอภาคต่อบริการสาธารณะได้กาหนด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 52 และรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 51 บัญญัติลักษณะเดียวกันว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิ เสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับ การรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบุคคลย่อมมีสิทธิ ได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมี สิทธิได้รับการป้องกัน และขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และทันต่อเหตุการณ์” อีกทั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ วรรคสอง “บุคคลผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ” วรรค สาม “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่าย” มาตรา 55 วรรคหนึ่ง “รัฐต้องดาเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด” วรรคสอง “บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุมการส่งเสริม สุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรคการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย” และ วรรคสาม “รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง” จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญทั้งสี่มาตรานี้จึงเป็นการยืนยันถึงสิทธิประโยชน์จากบริการ สาธารณะหรือการเข้าถึงบริการสาธารณะด้านการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างเท่าเทียมกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3