การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้คงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี ประกอบไป ด้วย งานอนามัยแม่และเด็ก งานวางแผนครอบครัว งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ และ งานสุขศึกษา 2) ด้านการป้องกันโรค รัฐจัดให้มีขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดพยาธิสภาพหรือเจ็บป่วย ต่อประชาชนส่วนรวม มีกิจกรรมที่สาคัญ ได้แก่ การสร้างเสริมภูมคุ้มกันในเด็กทารกและเด็ก วัยก่อนเรียน ให้สุขศึกษาแก่มารดาและหญิงให้ทราบถึงการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ปรับปรุง อนามัยสิ่งแวดล้อม 3) ด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยการวินิจฉัยระยะเริ่มแรกและ การรักษาอย่างเฉียบพลัน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประการ คือ ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และ บริการที่จัดให้ 4) ด้านฟื้นฟูสภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 ประการ คือ ลดหรือจากัด ความพิการให้น้อยลงด้วยการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ตามอาการที่ปรากฏ และช่วย พัฒนาความแข็งแรงและความสามารถของบุคคลเพื่อเตรียมบุคคลให้พร้อมต่อการออกไปผจญ ชีวิตในชุมชนต่อไป ทั้งนี้ การจัดระดับของบริการสาธารณสุขของประเทศไทย หากจาแนกตาม ลักษณะของระบบการบริการที่มีเจ้าหน้าที่รัฐ สามารถจาแนกออกเป็น 3 ระดับใหญ่ ๆ ดังนี้ บริการระดับปฐมภูมิ หมายถึง บริการสาธารณสุขที่เน้นการบริการแก่บุคคล ครอบครัว ชุมชน เป็นองค์รวมอย่างใกล้ชิด ผสมผสานสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการ เจ็บป่วย การตรวจวินิจฉัย เพื่อการควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ การรักษาพยาบาล และ การฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งที่มีความเชื่อมโยงกับระบบบริการสาธารณสุขระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการให้บริการที่ไม่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีการแพทย์ แต่มีความซับซ้อนในมิติทาง สังคมและมานุษยวิทยา หน่วยบริการสาธารณสุขที่สาคัญในบริการระดับนี้ ได้แก่ โรงพยาบาล ชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชน บริการทุติยภูมิ เป็นการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดาเนินการ โดยแพทย์ที่มีความชานาญสูงปานกลาง ให้บริการสาธารณสุขทั้งการสร้างเสริมสุขภาพการ ป้องกันการเจ็บป่วย การตรวจวินิจฉัย เพื่อการควบคุมที่คุกคามสุขภาพการรักษาพยาบาล และ การฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีการแพทย์ และบุคลากรขั้นพื้นฐานทาง เวชกรรม หน่วยบริการสาธารณสุขที่สาคัญในบริการระดับนี้ คือ โรงพยาบาลชุมชนเป็นหน่วย บริการสุขภาพที่ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับอาเภอส่วนโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลขนาดใหญ่อื่น ๆ ของรัฐ โรงพยาบาลทั่วไปเป็นโรงพยาบาลที่ ตั้งอยู่ในระดับจังหวัดหรืออาเภอขนาดใหญ่ บริการระดับตะติยภูมิ เป็นการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษให้บริการรักษา การตรวจวินิจฉัยเพื่อควบคุมปัญหาที่ คุกคามสุขภาพ การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี การแพทย์มากเป็นพิเศษ มีความเชื่อมโยงกับบริการระดับปฐมภูมิและตะติยภูมิการให้บริการ ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้เทคโนโลยีและบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้ โดยหน่วยบริการสาธารณสุขที่สาคัญในระดับบริการนี้ ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล ทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลใหญ่ของรัฐสังกัดกระทรวงอื่น ๆ รวมถึง โรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ซึ่งมีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ครบถ้วน (ฉัตรสุมน พฤฒิ ภิญโญ, 2560, หน้า 137 - 143)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3