การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

65 4) ความต้องการได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น (Esteem needs) เมื่อมนุษย์ได้ เข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม และสังคมให้การยอมรับความต้องการขั้นต่อไปของมนุษย์คือความ ต้องการอยากเป็นคนดังในสังคม และต้องการให้สังคมยกย่องในความเก่งความสามารถของตน เพราะจะทาให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามีความภูมิใจที่ได้รับการยกย่องและให้เกียรติจากสังคม 5) ความต้องการประสบความสา เร็จในชีวิต (Self Actualization needs) เป็นความต้องการขั้นสุดท้ายซึ่งความต้องการนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความต้องการขั้นที่ 1 - 4 ได้รับการตอบสนองเรียบร้อยแล้ว ความต้องการขั้นสูงสุดนี้เป็นความต้องการที่จะได้รับ ความสาเร็จสูงสุดในชีวิตของแต่ละคนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ (นิติพล ภูตะโชติ , 2556, หน้า 189 - 191) ดังนั้น จากแนวคิดความต้องของมนุษย์ดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าความ ต้องการของมนุษย์ ในขั้นแรกเป็นความต้องการเพื่อตอบสนองต่อร่างกาย คือ ปัจจัยสี่ในการ ดารงชีวิต (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) ผู้วิจัยจึงนามาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษา ความต้องการตามลาดับขั้นการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ของ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทย และพบว่าความต้องการของมนุษย์ ในขั้นแรกเป็นความต้องการเพื่อตอบสนองต่อร่างกาย คือ ปัจจัยสี่ในการดารงชีวิต (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค) จึงเห็นว่าแนวคิดความต้องการของมนุษย์สามารถนามา ประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการตามลาดับขั้นในการพัฒนากฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม กรณีผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทางานและต้องเข้ารับ บริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลที่ผู้ประกันตนเลือกใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจึงมีความ จาเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระดับขั้นที่เพียงพอ ต่อความต้องการของระดับการเจ็บป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด 2.7 ทฤษฎีความยุติธรรมและความเสมอภาค 2.7.1 ทฤษฎีความยุติธรรม คาว่า “ยุติธรรม” หมายถึง ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วย หลักการและเหตุผล ทั้งนี้ โดยได้มีนักวิชาการและบุคคลสาคัญให้ความหมายของความยุติธรรม ไว้หลากหลายแนวคิดด้วยกัน กล่าวคือ รอลวส์ได้เสนอแนวคิดความยุติธรรมโดยทาแบบจาลอง สถานการณ์ที่มีความเท่าเทียมกันให้สามารถตัดสินใจได้ กรณีที่บุคคลมีสภาพเหมือนๆ กัน ควรได้รับโอกาสที่เหมือนกันแม้คนที่ด้อยโอกาสในสังคมก็ควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการรองรับถึงหลักการและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่จะได้รับถึงความเป็นอยู่ที่ดี ในสังคมโดยไม่ได้คานึงถึงสถานะทางสังคมแต่อย่างใด (กิตติพัฒน์ นนทปัทมะดุล, 2549, หน้า 3 ) ส่วนโรนัลด วอร์กิ้น (Ronald Dworkin) ศาสตราจารย์ด้านนิติปรัชญาของ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด มีความเห็นว่า รัฐต้องมีความรับผิดชอบทั่วไปที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข ในกรณีที่กฎหมายมีความไม่ชัดเจนหรือมีปัญหากระทบกระเทือนต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3