การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
66 (จรัญ โฆษณานันท์, 2556,หน้า 336 - 337) แต่ในขณะเดียวกันความยุติธรรมตามทฤษฎีของ กฎหมายธรรมชาติ โดยเซนต์โทมัส (Asint Thomas Aquinas) นักปรัชญาและนักทฤษฎี กฎหมายธรรมชาติชาวอิตาเลียนสมัย Middle Ages ช่วงศตวรรษที่ 12 – 13 (ค.ศ.1225 – 1274) มีความเห็นว่า กฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) “เป็นกฎหมายนิรันดรเฉพาะ บางส่วนที่มนุษย์เข้าถึงได้ด้วยเหตุผลของมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวทุกคน” ในขณะเดียวกันเซต์โทมัส ได้เชื่อมโยงความคิดในเรื่องความยุติธรรมตามธรรมชาติกับความยุติธรรมที่มนุษย์สมมติขึ้น โดยให้ความสาคัญว่า “กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายธรรมชาติขึ้น จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายธรรมชาติ ถ้ากฎหมายมนุษย์ขัดหรือไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ธรรมชาติ กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นย่อมไม่มีคุณค่าจะนับเป็นกฎหมายและไม่มีผลการบังคับ ใช้” ส่วนอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญากรีกโบราณชาวอังกฤษ มีคาสอนเกี่ยวกับความ ยุติธรรม คือ การแบ่งสันปันส่วนได้วางหลักกว้างๆ สิ่งที่เหมือนกันก็ควรได้รับการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน และสิ่งที่ต่างกันก็ควรได้รับการปฏิบัติที่ต่างกัน และเชื่อว่าหลักความยุติธรรม เป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่มาจากเสรีภาพ พลเมืองสามารถแบ่งปันเสรีภาพ ร่วมกันได้ โดยแนวทางของหลักเสรีภาพประกอบด้วย ภาวะผู้นาและภาวะผู้ตามที่ดีเนื่องจาก ทุกคนมีความเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเหลื่อมล้าทางฐานะ ความสามารถ ชาติกาเนิด และ สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยการแบ่งสันปันส่วน (ปรีดี เกษมทรัพย์, 2552, หน้า 159 – 161) จากทฤษฎีหลักความยุติธรรม จึงถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย ตามหลักสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันโดยไม่คานึงถึงฐานะทางสังคมที่มีความแตกต่างกัน ให้ได้รับสวัสดิการสิทธิประโยชน์ในด้านหลักประกันสุขภาพกับประชาชนที่รัฐควรแบ่งปัน ให้ทั่วถึงทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อสังคมอย่างเสมอภาค หลักนิติธรรม ความหมายของหลักนิติธรรม คาว่า “หลักนิติธรรม” มาจากคาใน ภาษาอังกฤษว่า Rule of Law ซึ่งมีผู้ให้คาแปลไว้หลากหลาย อาทิ พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แปลว่า “หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย” หรือแปลว่า “หลักการ ปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ “หลักความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย” แต่ทั้งนี้คาแปลที่ได้รับความ นิยมและใช้กันแพร่หลายโดยทั่วไปคือคาว่า “หลักนิติธรรม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่กาเนิดและ พัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษอันมีระบบกฎหมาย แนวคิดและสภาพแวดล้อมที่ต่างจาก กฎหมายไทย เป็นหลักคิดที่เป็นนามธรรม มีพลวัตรตลอดเวลาโดยศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้อธิบาย “The Rule of Law” หรือ “นิติธรรมวินัย” ว่าหมายถึง หลักการแห่ง กฎหมายที่เทิดทูนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และยอมรับนับถือสิทธิและเสรีภาพแห่ง มนุษยชนทุกแง่มุมรัฐต้องให้ความอารักขาคุ้มครองมนุษยชนให้พ้นจากลัทธิทรราชย์หากมีข้อ พิพาทใด ๆ เกิดขึ้นไม่ว่ารัฐกับเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับเอกชน ศาลสถิตยุติธรรมเท่านั้นที่ มีอานาจอิสระและเด็ดขาดในการตัดสินข้อพิพาทนั้นตามกฎหมายของบ้านเมือง (เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล, 2553, หน้า 113 – 114) หลักนิติธรรมเป็นคาที่เริ่มมีการนามาใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการใช้คาว่าหลักนิติธรรมได้อย่าง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3