การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
67 ชัดเจนมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหลักนิติธรรมยังคงเป็นนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้และ บุคคลทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการดังกล่าวอย่างแท้จริง นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติคาว่า หลักนิติธรรมไว้ในมาตรา 3 วรรค สองว่า “การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” และหมวดที่ 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (6) ดาเนินการให้หน่วยงาน ทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดาเนินงานของรัฐตามกฎหมายและตรวจสอบ การตรากฎหมายของรัฐดาเนินการอย่างอิสระเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตาม หลักนิติธรรม” ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการบัญญัติคาว่า “หลักนิติธรรม” ไว้ในรัฐธรรมนูญ อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ยังได้บัญญัติรับรองคาว่า “หลักนิติธรรม” ไว้เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 3 ระบุว่า “อานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาว ไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม” และมาตรา 26 ระบุว่า “การตรา กฎหมายที่มีผลเป็นการจากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อ หลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระ หรือจากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุและ จะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจาเป็น ในการจากัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง” ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจึงเห็นได้ว่า หลักนิติธรรมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกาหนดกรอบการใช้อานาจ และการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร องค์กรอิสระ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ เกี่ยวข้อง จึงมีความสาคัญและจาเป็นในการพัฒนารูปแบบของระบบหลักประกันสุขภาพของ ประเทศไทยให้เกิดความยุติธรรม สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ตามหลักนิติธรรมยังคง เป็นประเด็นที่ถูกยกมากล่าวถึงเสมอและยังคงมีการต่อเนื่องไปจนถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ที่ยังให้ความสาคัญในเรื่องสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ตามหลักนิติธรรม ในความเป็นจริงของสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่า ประชาชนชาวไทยทุกคนมี สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ตามหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล โดยแท้ กล่าวคือ รัฐได้จัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานและการบริการสาธารณสุขให้กับประชาชนทุก กลุ่มโดยรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งจะเป็นการปกครองใน ประเทศที่ใช้หลักการปกครองโดยหลักนิติธรรม (Rule of law) หรือหลักบังคับแห่งกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้มีการใช้กฎหมายเป็นสิ่งที่สร้างหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น ความสาคัญสูงสุดของรัฐธรรมนูญในทางรัฐศาสตร์ คือ การเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนมิให้ผู้ปกครองหรือนักการเมืองมาละเมิดประชาชนชาวไทยทุกคนควรรับบริการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3