การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
68 สาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ตามหลักนิติธรรม ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่งตาย เพื่อดารง ไว้ซึ่ง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิและเสรีภาพของบุคคล” บุคคลที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ “บุคคลไม่ว่าจะเกิด ณ แห่งหนใดในราชอาณาจักรไทย ย่อมมีสิทธิในศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์และเป็นพลเมืองโดยเท่าเทียมกัน” และ“บุคคลควรมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจาก การใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมจากรัฐและเอกชน” รวมอยู่ด้วยเพื่อที่จะให้ ประเทศไทยครองความเป็นประเทศที่มีเอกราชตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีการปกครองตาม หลักนิติธรรมโดยแท้ทั้งนี้ จากหลักนิติธรรมดังกล่าวข้างต้น การที่รัฐจัดทาบริการสาธารณะ เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์กรณีเจ็บป่วยของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมก็เพื่อ ตอบสนองความต้องการของสังคมและประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนทุกคนไม่ใช่เพื่อ ประโยชน์ของกลุ่มใดโดยเฉพาะในการปกป้องคุ้มครองดูแลรวมถึงการสร้างความปลอดภัย ให้กับประชาชนและสังคมจึงเป็นภาระหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่ดาเนินการจัด ให้บริการสาธารณะดังกล่าวแก่ประชาชนซึ่งการดาเนินงานรัฐอาจเป็นผู้ดาเนินการเองหรือ มอบหมายให้เอกชนเป็นผู้จัดทา ด้วยเหตุนี้ การดาเนินการในเรื่องบริการทางการแพทย์จึงถือ ว่าเป็นบริการสาธารณะประเภทหนึ่งที่รัฐจัดทาขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมโดย ส่วนรวม เนื่องจากสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่จาเป็นและสาคัญต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของ ประชาชนทั่วประเทศเพราะระบบการประกันสังคมของประเทศไทยเป็นหนึ่งในกองทุนที่ เกี่ยวข้องกับระบบการรักษาพยาบาลโดยได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งมุ่งเน้นให้ ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เข้าสู่ระบบประกันสังคมให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนอัน จะพึงได้รับโดยความเสมอภาคไม่เกิดการเลือกปฏิบัติ (วิรัติ พาณิชย์พงษ์, 2557, หน้า 13 -19) 2.7.2 หลักว่าด้วยความเสมอภาค หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับการ รับรองและคุ้มครองจากกฎหมายสามารถนาไปอ้างหรือใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือก ปฏิบัติเพราะความแตกต่างของเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกาเนิด (สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2542, หน้า 161) ดังนั้น ความเสมอภาคจึงหมายถึง ความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนในการได้รับสิทธิ พื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยผ่านการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์ ทั้งนี้ ได้มีบุคคลสาคัญ และนักวิชาการได้กล่าวถึงหลักว่าด้วยความเสมอภาคไว้หลากหลาย กล่าวคือ หลวงประดิษฐ์ มนูญธรรม กล่าวถึงหลักว่าด้วยความเสมอภาคไว้ว่า เป็นหลักการพื้นฐานที่สาคัญประการหนึ่ง ของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองหลักความเสมอภาคไว้เพราะ เป็นรากฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หลักความเสมอภาค จึงหมายถึงความเสมอภาค ในกฎหมาย ซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในทางกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลอื่น ๆ และ ความเสมอภาคในกฎหมายนี้อาจเป็นได้ทั้งสิทธิและหน้าที่ (หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม, 2526, หน้า 154) ในขณะที่ หลักความเสมอภาค คือ การที่ประชาชนในประเทศมีความเสมอภาคหรือ เท่าเทียมกันในเรื่องสิ่งจาเป็นขั้นพื้นฐานต่อการอยู่รอดและพัฒนาตัวเองตามหลักสิทธิมนุษยชน (วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2551,หน้า 3) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าหลักว่าด้วยความเสมอภาค เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแต่การใช้หลักความเสมอภาคในทาง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3