การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
69 ปฏิบัติอาจมีความหลากหลายเนื่องจากมีสาระสาคัญของข้อเท็จจริงแตกต่างกันไปตามที่ กฎหมายกาหนดไว้ (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2556, หน้า 134) เมื่อนาหลักว่าด้วยความเสมอภาคมาปรับเข้ากับสิทธิในการรักษาพยาบาลของ ประชาชนไทยย่อมเห็นได้ว่า การที่รัฐบาลจัดหลักประกันสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลตามที่ กฎหมายกาหนดรับรองและคุ้มครองไว้อย่างเท่าเทียมกันทุกคนเพราะถือว่าสิทธิการ รักษาพยาบาลเป็นข้อเท็จจริงที่มีสาระอย่างเดียวกัน ซึ่งหากปรากฏว่าบุคคลนั้นได้รับ การปฏิบัติที่ไม่เหมือนหรือแตกต่างกันย่อมจะเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาค เห็นได้ว่า หลักความเสมอภาคเป็นหลักสาคัญในการรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างหนึ่ง ที่พึงได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพราะแม้กระทั่งปฏิญญาว่าด้วย สิทธิมนุษย์และพลเมือง ฉบับลงวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ยังได้บัญญัติรับรองไว้เป็นสาคัญ คือ “มาตรา 1 มนุษย์กาเนิดและดารงชีวิตอย่างมีอิสระและเสมอภาคกันตามกฎหมาย การแบ่งแยกทางสังคมจะกระทาได้แต่เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม ”(สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2542, หน้า 161) ประเทศไทยได้บัญญัติรับรองคุ้มครองหลักความเสมอภาคไว้อย่างชัดเจน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อาทิเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง“บุคคลยอมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายเทาเทียมกัน” และวรรคสอง “ชายและหญิงมีสิทธิเทาเทียมกัน” และได้บัญญัติ รับรองมาอย่างต่อเนื่องถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 โดยมีข้อความในลักษณะเดียวกัน และต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งประเทศไทยมีการปฏิรูป การปกครองโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และได้จัดทา รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แต่ก็ยังคงหลักการเกี่ยวกับ หลักความเสมอภาคไว้ในมาตรา 4 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคบรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มคร อง ตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญนี้” และได้บัญญัติหลักการและข้อความดังกล่าวไว้ในลักษณะเดียวกัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” โดยรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยได้แบ่งประเภทของหลักความเสมอภาคไว้ 2 ประการหลัก ๆ ด้วยกัน คือ 1) หลักความเสมอภาคทั่วไปความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย หมายความว่า บุคคลไม่ว่าจะมี ฐานะทางกฎหมายอย่างไรก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันสถานะทางกฎหมายไม่ก่อให้เกิด เอกสิทธิ์แก่บุคคลเหล่านั้นแต่อย่างใด 2) หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง หมายถึง กฎหมายได้ บัญญัติถึงหลักความเสมอภาคในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น ความเสมอภาค ในกระบวนการยุติธรรม ความเสมอภาคในการเลือกตั้ง ความเสมอภาคในการรับภาระของรัฐ และความเสมอภาคในการรับบริการสาธารณะ (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2562, หน้า 159 – 161)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3