การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

70 จากหลักความเสมอภาคดังกล่าวข้างต้น จึงสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า หลัก ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนนับตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งถึงแก่ความตาย โดยสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างและเป็นสิทธิของบุคคลที่จะเรียกร้องไม่ให้ฝ่ายรัฐใช้อานาจ โดยอาเภอใจซึ่งเป็นรากฐานที่ทาให้การใช้สิทธิและเสรีภาพเป็นไปอย่างชอบธรรม และการที่ ประชาชนทุกคนสมควรได้รับสวัสดิการจากรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เช่น การแจกของ ผู้ประสบภัยน้าท่วม ทุกคนจะได้รับของแจกขั้นพื้นฐาน เช่น ได้รับข้าวสาร อาหารแห้ง ยาป้องกันเท้าเปื่อย แต่หากมีครอบครัวหนึ่งมีคนป่วยที่ต้องการยาเป็นพิเศษ หรือบาง ครอบครัว มีเด็กอ่อน ต้องได้รับนมผงเพิ่มสาหรับเด็ก ทางราชการสามารถเพิ่มยา และนมผง ให้แก่ครอบครัวเหล่านั้น นี่คือความเสมอภาคที่ได้รับเพราะทุกคนในครอบครัวได้รับแจก สิ่งจาเป็นเพื่อการยังชีพแล้ว หลักความเสมอภาคคือต้องมีการเปรียบเทียบกับของ 2 สิ่ง หรือ 2 เรื่อง และดูว่าอะไรคือสาระสาคัญของเรื่องนั้น หากสาระสาคัญของประเด็นได้รับการ พิจารณาแล้ว ถือว่ามีความเสมอภาคกัน เช่น การที่รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลไม่เท่ากัน คนที่มี รายได้มากก็เสียภาษีมากคนที่มีรายได้น้อยก็เสียภาษีน้อย คนที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กาหนดก็ ไม่ต้องเสียภาษี แต่การมีรายได้มากหรือน้อยเป็นสาระสาคัญของการเก็บภาษีซึ่งเป็นธรรม สาหรับประชาชน การเลือกปฏิบัตินั้น เป็นเหตุให้เกิดความไม่เสมอภาค เช่น การ รักษาพยาบาล หรือ การเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐเป็นไปไม่ทั่วถึง และไม่เท่าเทียมกัน เพราะมีความแตกต่างของบุคคลในเรื่องเชื้อชาติ เช่น หากมีแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา หรือ พม่า มารักษาเจ้าหน้าที่มักไม่อยากให้บริการที่ดีหรือไม่ยอมรับรักษาผู้มีเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วย เอดส์เป็นต้น(พีระศักดิ์ พอจิต, หลักสิทธิมนุษยชน, หน้า 7 - 8) ดังนั้น จากทฤษฎีว่าด้วยความยุติธรรมและหลักว่าด้วยความเสมอภาคจึงเป็นสิ่ง สาคัญในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับระบบการส่งต่อบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคม ให้ประชาชนไม่ว่าอยู่สถานะใดสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ เสมอภาคกันโดยเฉพาะเกี่ยวกับกรณีเจ็บป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มี ศักยภาพสูงขึ้น โดยจะนาไปสู่การพัฒนากฎหมาย รูปแบบและกลไกระบบการส่งต่อบริการ ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมให้มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์และได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐตามบทบัญญั ติรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2.8 หลักสิทธิมนุษยชนกับสิทธิสุขภาพ คาว่า “สิทธิ” หรือ “สิทธิ์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง อานาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิในที่ดิน แปลงนี้ รวมถึงอานาจที่จะกระทาการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย ความหมายของ สิทธิ (Right) ในความหมายที่เข้าใจกันในระบบกฎหมายทั่วไป หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง และคุ้มครองให้หรืออานาจที่จะกระทาการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับรองจากกฎหมาย และประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่จะ กระทาการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตและร่างกาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3