การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

71 เป็นต้น สิ่งที่รัฐธรรมนูญกาหนดเป็นสิทธิ หมายความว่า รัฐให้สิทธิแก่ประชาชน โดยรัฐมี พันธกรณี (หน้าที่) ที่จะต้องทาให้ประชาชนได้รับสิทธินั้น เปรียบประดุจดังรัฐเป็นลูกหนี้ ประชาชนเป็นเจ้าหนี้ ณัฐกร วิทิตานนท์ (2553, หน้า 49 - 51) สาหรับสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และสิทธิตามความหมายทั่วไป หมายถึง อานาจที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่ จะเรียกร้องให้บุคคลอื่นกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งสิทธิจึงก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอื่นด้วย (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2562, หน้า 50 - 51) ความหมายคาว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง สิทธิพื้นฐานที่มนุษย์พึงมี (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554, 2563) ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่ง สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคน มีความเท่าเทียมกันมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของ บุคคลที่ได้รับการรับรองทั้งความคิดและการกระทาที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การให้ นิยามคาว่า “สิทธิมนุษยชน” ยังมีข้อถกเถียงทางวิชาการระหว่างสองสานักความคิดทาง กฎหมาย คือ สานักกฎหมายธรรมชาติ กับ สานักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง แต่สิ่งที่ยอมรับกัน คือ ลักษณะสาคัญของสิทธิมนุษยชน มี 3 ประการ ได้แก่ มีความเป็นสากล (Universal) ไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Indivisible) และมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน (Interdependent and Interrelated) เนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่อาจแยกพิจารณาออกจากกัน โดยอิสระได้ในการนาสิทธิประเภทหนึ่งไปใช้จะต้องพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิประเภท อื่นด้วย และการละเมิดสิทธิประเภทหนึ่งอาจมีผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิอีกประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทด้วย (คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, 2560, หน้า 4) ส่วนความหมายของคาว่า “สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) ตามพระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 3 “ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณี ที่จะต้องปฏิบัติตาม” ซึ่งมาตรานี้ได้กาหนดหลักการสาคัญของความเป็นมนุษย์ก็คือ มนุษย์ย่อม มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เป็นหลักการที่รัฐธรรมนูญย่อมให้การคุ้มครองสิทธิแก่ประชาชน โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 47 ได้บัญญัติรับรองสิทธิ เกี่ยวกับสุขภาพไว้ ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิทธิประจาตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะมนุษย์ ทุกคนมีศักดิ์ศรีมีเกียรติศักดิ์ประจาตัว สิทธิมนุษยชนไม่สามารถโอนให้แก่กันได้เมื่อกล่าวถึง สิทธิมนุษยชนจึงมีความหมายกว้างกว่าสิทธิในทางกฎหมาย ซึ่งสิทธิในทางกฎหมาย สิทธิ คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง เป็นไปตามหลักกฎหมายในขอบเขตที่แคบบุคคลจะมีสิทธิได้ต้องมี กฎหมายรับรองไว้ถ้ากฎหมายไม่รับรองย่อมไม่มีสิทธิหรือไม่ได้รับสิทธิแต่สิทธิมนุษยชนมี ขอบเขตกว้างกว่าที่กฎหมายรับรอง สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่รับรองกันทั่วโลกว่าเป็นมาตรฐาน ขั้นต่าของการปฏิบัติต่อมนุษย์เมื่อพูดถึงสิทธิมนุษยชนอาจกล่าวได้ว่าครอบคลุมสิทธิ 5 ประการ คือ 1) สิทธิพลเมือง ได้แก่ สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูก ทรมาน ไม่ถูกกระทาร้ายหรือฆ่า หรือสิทธิในกระบวนการยุติธรรมความเสมอภาค

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3