การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
72 เท่าเทียมกันในด้านกฎหมาย สิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากการจับกุมหรือคุมขังโดยมิชอบ 2) สิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในการเลือกวิถีชีวิตของตนทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเสรีภาพในการแสดงออกและการแสดง ความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในการดาเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ เสรีภาพ ในการชุมนุมโดยเปิดเผย หรือการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 3) สิทธิทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สิทธิในการมีงานทาเลือกประกอบอาชีพได้โดยอิสระ ได้รับค่าจ้างตอบแทนอย่างเป็นธรรม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน 4) สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้รับการศึกษาสิทธิ ในการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคง ทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง สร้างครอบครัว 5) สิทธิทางวัฒนธรรม ได้แก่ การมี เสรีภาพในการใช้ภาษา หรือสื่อสารความหมายใน ภาษาท้องถิ่น มีเสรีภาพในการแต่งกาย ตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อ ทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจ การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรม จึงกล่าวได้ว่าแนวคิดหลัก สิทธิมนุษยชน มีรากฐานมาจากหลักของกฎหมายธรรมชาติหรือสิทธิตามธรรมชาติที่ว่ามนุษย์มี ความเสมอภาค มีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคเท่าเทียมกัน อานาจสูงสุดของมนุษย์ คือธรรมชาติ มนุษย์ถือกาเนิดขึ้นมาพร้อมกับสิทธิในชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน เสรีภาพในร่างกายและความ เสมอภาคกัน สิทธิเสรีภาพเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดและผู้ใช้อานาจปกครอง ไม่มีอานาจที่จะลบล้างและมิอาจจะก้าวล่วงได้ การกระทาใด ๆที่เป็นการลิดรอนสิทธิหรือ ทาลายสิ่งเหล่านี้เป็นการกระทาที่ผิด (นิศารัตน์ ท้าวโสม, 2555, หน้า 19 - 20) 2.8.1 อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) ฉบับที่ 102 ค.ศ. 1 9 5 2 ว่ า ด้ ว ย ก า รป ร ะ กัน สั งค ม ( International labor convention On Social Security, Vol . 102 ) เป็นมาตรฐานสากลที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมขั้นต่าในเรื่องของการเจ็บป่วย จากการทางานและการเจ็บป่วยที่ไม่ได้สืบเนื่องจากการทางานซึ่งเป็นสิทธิที่บุคคลสมควรได้รับ โดยอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) ฉบับที่ 102 ค.ศ. 1952 ว่าด้วยการ ประกันสังคม เป็นอนุสัญญาฉบับสาคัญฉบับหลักในเรื่องของการประกันสังคมมีฐานะเป็น กฎหมายสากลที่ถือเป็นเครื่องมือในการออกแบบกฎหมายประกันสังคมและแนวทางสร้าง ความมั่นคงทางสังคมขั้นพื้นฐานในนานาประเทศ โดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (Internationnal Labour Organization- ILO) ได้ออกอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 102 ว่าด้วยการประกันสังคมขึ้นเพื่อกาหนดมาตรฐานขั้นต่าต้องมีขอบเขตครอบคลุม 9 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 การรักษาพยาบาล (Medical Care) ประเภทที่ 2 การให้ประโยชน์ทดแทนกรณีเจ็บป่วย (Sickness Benefit) ประเภทที่ 3 การให้ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (Unemployment Benefit)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3