การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

76 การศึกษาและให้มีการยอมรับและยึดถือโดยสากลอย่างมีประสิทธิผลด้วยมาตรฐานแห่งชาติ และระหว่างประเทศอันก้าวหน้าตามลาดับทั้งในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกด้วยกันเอง และในบรรดาประชาชนของดินแดนที่อยู่เขตอานาจแห่งรัฐนั้น ขณะที่ภาคีสมาชิก สหประชาชาติมีเจตจานงประการสาคัญว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็น เงื่อนไขสาคัญประการหนึ่งที่จะก่อให้เกิดสันติภาพในประเทศสมาชิกที่ร่วมองค์กรและสังคม ระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม (กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, 2551, หน้า 20) สาหรับหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของ ประชาชนมีกาหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิด้าน สุขภาพของประชาชนมีกาหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุ ษยชน (Universal Declaration of Human Rights) หลายประการ ดังนี้ ข้อ1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างมี เหตุผลและมโนธรรมและควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณห่างภราดรภาพ ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพและความมั่งคงแห่งบุคคล ข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของ กฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้และ จากการยุยุงให้มีการเลือกปฏิบัติดังกล่าว ข้อ 8 ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาลที่มีอานาจ แห่งรัฐต่อการกระทาอันล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งตนได้รับตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ข้อ 21 (2) ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศตนโดยเสมอภาค ข้อ 22 ทุกคนในฐานสมาชิกของสังคม มีสิทธิในหลักประกันทางสังคม และย่อม มีสิทธิในการบรรลุสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันจาเป็นยิ่งสาหรับศักดิ์ศรีของตน และการพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างอิสระ ผ่านความพยายามของรัฐและความร่วมมือ ระหว่างประเทศและตามการจัดการและทรัพยากรของแต่ละรัฐ ข้อ25 (1) ทุกคนมีสิทธิมาตรฐานในการครองชีพอันเพียงพอสาหรับสุขภาพและ ความอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษา ทางการแพทย์และบริการสังคมที่จาเป็นและมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วยพิการ หรือปราศจากการดารงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน (คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2550, หน้า 4 - 15) หลักการของสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กาเนิด และเป็นสิทธิที่มีอยู่ เหนือกฎหมายและอานาจใดของรัฐ ดังนั้น รัฐย่อมมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งในด้านการคุ้มครองสิทธิของประชาชนเกี่ยวกับการประกันสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐ พึงต้องให้บริการเพื่อการมีชีวิตที่ดีและให้เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์หลักสิทธิมนุษยชนได้ใช้ เป็นแนวทางร่วมมือในระดับภูมิภาคและให้เหมาะสมระดับโลก เพื่อพัฒนาบรรดามาตรการ และกลไกทั้งในประเทศและระดับนานาชาติให้ความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไปย่างมีระบบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3