การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

77 มาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยไม่คานึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ผิว ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม หรือสิทธิมนุษยชนมีหลักนโยบายที่สาคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1) การมีสังคมที่มีสันติสุขอย่างแท้จริง ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร เคารพใน สิทธิซึ่งกันและกัน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามที่มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 2) สังคมที่มีการเคารพกฎหมาย ยึดหลักนิติธรรม (rule of law) ไม่ใช้หลักการ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเงื่อนไขการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน 3) สังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย สร้างโอกาส ความเสมอภาคความยุติธรรม ให้แก่ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ส่งเสริมหลักการธรรมภิบาล ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม 4) สังคมที่มีการพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืนทั้งด้านพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะ อบย่างยิ่งการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของสังคม หลักของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิทธิที่ไม่ก่อให้เกิดพันธะผูกพัน ทางกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Commission on Human Rights) จึงจัดทาร่างกติการะหว่างประเทศขึ้นมา 2 ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights, 1967: ICESCR) มีผลใช้บังคับเมื่อ วันที่ 3 มกราคม ค.ศ.1976 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 กับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights, 1967: ICCPR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1976 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิกเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2540 (จรัญ โฆษณานันท์, 2556, หน้า 309 - 310, 320 - 332) 2.8.3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights, 1966 : ICESCR) เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งผ่านม ติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1966 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา กติกาฯ ผูกมัดภาคีให้ทางานเพื่อมุ่งสู่การให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (ESCR) แก่ปัจเจก บุคคล รวมถึงสิทธิแรงงานและสิทธิในสุขภาพอนามัย สิทธิในการศึกษา ตลอดจนสิทธิใน มาตรฐานการครองชีพที่พอเพียง โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรม ให้การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติการ จากัดสิทธิการแปลความ สิทธิในสวัสดิการสังคม สิทธิในสุขภาพ ตามข้อ 2 (2) , 4, 5, 9, 10 และ 12 (1) (2) มีรายละเอียด ได้แก่ ข้อ 2 (2) “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้ จะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความ คิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน กาเนิดหรือสถานะ อื่น” หลักการไม่เลือกปฏิบัติถือเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่สาคัญซึ่งกติกานี้ได้กาหนดให้รัฐ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3