การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

79 (d) การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางการแพทย์และการให้การดูแล รักษา พยาบาลแก่ทุกคนในกรณีเจ็บป่วย การคุ้มครองสิทธิสุขภาพมีความหมาย รวมทั้งสุขภาพด้านร่างกายและ จิตใจของประชากร และเป็นพันธะของรัฐภาคีที่จะต้องให้การรับรองสิทธิโดยอาศัยขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การหาทางลดอัตราการตายของทารกก่อนคลอด การป้องกันหรือควบคุมโรคระบาด หรือการให้ ประกันบริการทางการแพทย์ ตามที่คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และรัฐสมาชิกได้รับรองไว้ (สิทธิมนุษยชน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จา กhttp://humanrights.mfa.go.th) 2.8 . 4 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 (International Covenant on Civil and Political Rights, 1966 : ICCPR) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่ง สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ประเทศไทยได้เข้า เป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลใช้บังคับในประเทศไทยเมื่อ วันที่ 29 มกราคม 2540 เป็นต้นมา โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง ได้บัญญัติถึงสิทธิสุขภาพของประชาชน คือ สิทธิในการดารงชีวิตอยู่และการ ตีความจะขัดต่อสิทธิของประชาชนทุกคนที่จะใช้สอยและรับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ได้ ตามข้อ 2 (1) ข้อ 25 และ ข้อ 26 มีรายละเอียด ดังนี้ ข้อ 2 (1) รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคล ทั้งปวงภายในดินแดนของตนและภายใต้เขตอานาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกา นี้โดยปราศจากการแบ่งแยกใด ๆ อาทิเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการ เมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กาเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ข้อ 25 พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาสโดยปราศจากความแตกต่าง ดังกล่าวไว้ในข้อ 2 และโดยปราศจากข้อจากัดอันไม่สมควร (a) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่าน ทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี (b) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเสียงในการเลือกตั้งอันแท้จริงตาม วาระ ซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและเสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการ แสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก (c) ในการที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศของตน ตาม หลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค” ข้อ 26 บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความ คุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้กฎหมาย จะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติ ใด และต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและ เป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3