การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

80 กาเนิดหรือสถานะอื่น ๆ (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง, 2550, หน้า 15 – 19) กล่าวได้ว่าแนวคิดของสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิสุขภาพมีอิทธิพลต่อการ คุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะ การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนถือเป็นหลักการจาเป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่ง จอห์น สจ๊วต มิลล์(John Stuart Mill) กล่าวถึงหลักการพื้นฐานว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีเสรีภาพ เสมอภาคและ มีศักดิ์ศรีติดตัวมาแต่กาเนิด หลักสิทธิมนุษยชนจึงมีแนวปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงได้ให้ความสาคัญต่อหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศที่เป็นภาคีสหประชาชาติได้ร่วมกันรับรองในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศและถือเป็นฉบับแรกของโลกไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 (Universal Declaration of Human Rights, 1948) โดยยอมรับกันว่าเป็นพื้นฐานของ กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเคารพสิทธิซึ่งกันและ กันของปัจเจกบุคคลทุกคนและทุกส่วนของสังคมในบรรดาประชาชนของรัฐสมาชิกด้วยกันเอง สาหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกได้ให้สัตยาบันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน ค.ศ. 1948 ดังนั้น รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกย่อมมีหน้าที่ให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่เกี่ยวกับสิทธิสุขภาพให้เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์เพื่อพัฒนาบรรดามาตรการและกลไกทั้ง ในประเทศและระดับนานาชาติโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่าง มีระบบมาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ หลักการของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่ก่อให้เกิดพันธะผูกพันทางกฎหมาย ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดผลในทาง ปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิสุขภาพของประชากรทั่วโลกจึงได้มีการจัดทากติการะหว่างประเทศ ขึ้นมา 2 ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights, 1967: ICESCR) กับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights, 1967: ICESCR) เพื่อให้ประเทศที่ เป็นภาคีสมาชิก มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามที่ให้สัตยาบันไว้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี สมาชิกทั้งสองฉบับและได้นาหลักสิทธิมนุษยชนมาบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (จิดาภา พรยิ่ง และสุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2560, หน้า 119 – 120) 2.8.5 คาประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย สาหรับประเทศไทยนั้นได้มีการร่วมมือกันหลายองค์กรดูแลสิทธิของผู้ป่วย โดยร่วมมือกัน 6 สภาวิชาชีพ คือ แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม กระทรวง สาธารณสุข ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และ สภากายภาพบาบัด ได้ร่วมกันในการ ออกคาประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 กาหนดสิทธิของ ผู้ป่วยไว้มีสาระสาคัญ 9 ข้อ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3