การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

81 2.8.5.1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการ ดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐาน วิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือก ปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2.8.5.2 ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและ เพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษา จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพด้วย ภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อ ตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจาเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต 2.8.5.3 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ รีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจาเป็นแก่กรณีโดยไม่ต้องคานึงว่า ผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ 2 .8 .5 .4 ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ ให้การ รักษาพยาบาลแก่ตน 2.8.5.5 ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้ เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ หรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่ 2.8.5.6 ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความ ยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรง ของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย 2.8.5.7 ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วม หรือถอนตัวจากการเป็นผู้เข้าร่วม หรือผู้ถูกทดลองในการทาวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สุขภาพ 2.8.5.8 ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของ ตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าว ต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น 2.8.5.9 บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็น เด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเอง ได้ สิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย สามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่า เป็นสิทธิสาหรับ บุคคลที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการได้รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสมควรประกอบการตัดสินใจของตนเอง ฉะนั้น ผู้ป่วยจึงเป็นบุคคลสาคัญที่จะต้องได้รับ การพิทักษ์สิทธิในหลายๆ ประเทศได้นาสิทธิของผู้ป่วยมาบัญญัติเป็นกฎหมาย สาหรับประเทศ ไทยมิได้ระบุไว้เป็นกฎหมายโดยตรง แต่มีกาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 วรรคแรกบัญญัติว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” จึงสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการรับรองสิทธิประชาชน ปวงชนชาวไทยโดยไม่มีแบ่งแยกเป็นหมู่หรือกลุ่ม ให้ได้รับสิทธิในการตัดสินใจที่จะรับหรือเลือก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3