การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

82 บริการทางการแพทย์ สิทธิที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน สิทธิที่จะได้รับการ บอกกล่าวหรือสิทธิที่จะรู้สิทธิส่วนตัวและสิทธิในครอบครัว สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหาย และสิทธิที่จะได้รับการปกปิดเรื่องราวไว้เป็นความลับ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิของ ผู้ป่วยไว้ (แพทยสภา, สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.tmc.or.th) 2.9 แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพ 2.9.1 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการจัดทายุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศใน ระยะยาว ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของประเทศในทุกภาคส่วนและนาพาประเทศให้หลุดพ้น จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงสามารถรับมือกับภัยคุกคามและบริหารจัดการกับ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปพร้อม ๆ กับการ เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้ โดยกาหนดวิสัยทัศน์ให้ “ประเทศไทยมีความมั่งคง มั่งคง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ มียุทธศาสตร์ที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปี ต่อจากนี้ไปประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ สาหรับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทาง สังคมโดยเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข คือ การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหาร จัดการสุขภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทาแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุขระยะ 20 ปี แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) ตามนโยบายรัฐบาลที่จะนาประเทศ ไทยก้าวสู่ Thailand 4.0 รองรับอนาคตที่มีความเป็นสังคมเมือง สังคมผู้สูงอายุซึ่งในปี 2573 ไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด การเชื่อมต่อการค้าและการลงทุน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และลดความเหลื่อมล้าการเข้าถึงระบบสุขภาพ ตั้งเป้าหมายให้ "ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบสุขภาพยั่งยืน" ดังนี้ (สานักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://bps.moph.go.th ) 2.9.1.1. ประชาชนสุขภาพดี คือ ประชาชนมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดไม่น้อย กว่า 87 ปี และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเมื่อแรกเกิด ไม่น้อยกว่า 75 ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3