การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
84 ประชาชน จากเดิมที่มี 8 เป้าหมายหลักเพิ่มเป็น 17 เป้าหมายหลัก สาหรับเป้าหมายที่ เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข คือ เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีใน ทุกช่วงอายุ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) เป็นวาระหลักของนโยบาย สาธารณะในยุคปัจจุบัน โดยเป้าหมายด้านสุขภาพในประเด็นการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าการบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาภัยจากเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ การเข้าถึงคนทุกภาค ส่วนในสังคมและยึดคนเป็น ศูนย์กลางความไม่ เป็นธรรมทางด้านสุขภาพและสังคมทั้ง ภายในประเทศและระหว่างประเทศ และกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางโดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้พิการและผู้สูงอายุการ เสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมซึ่งแต่ละประเทศต้อง ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อให้โลกอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มเข้ามา มีบทบาทอย่างมากในกระแสการพัฒนาของสังคมโลกนับตั้งแต่ประเทศสมาชิกองค์การ สหประชาชาติรวมทั้งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในแผนแม่บทของโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการประชุมสุดยอดของโลกทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศบราซิลเมื่อปี พ.ศ.2535 เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs ) ซึ่งเป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาของโลกภายหลังปี พ.ศ.2558 ที่องค์การสหประชาชาติ กาหนดต่อเนื่องจาก เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) ที่สิ้นสุด เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 โดยการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สานักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระ การพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นาไป ปฏิบัติให้บรรลุผลสาเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ในระยะเวลา15 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2558 – 2573 โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) (กรมเศรษฐกิจและสังคม, สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2564, จาก https://sdgs.un.org/goals) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการแพทย์ คือ เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being: Ensure healthy lives and promote well-being for all) โดยจากแนวคิดดังกล่าวสามารถนามา วิเคราะห์เปรียบเทียบกับการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ประกันตนเกี่ยวกับระบบ สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาระบบส่งต่อบริการ ทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและ สร้างความเป็นธรรมได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมและเสมอ ภาคกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติอย่างยั่งยืน (ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, 2560, หน้า 440) 2.9.3 แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาแผนสุขภาพแห่งชาติให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนพัฒนาสุขภาพ พ.ศ. 2503 เริ่มใช้กลวิธีการ พัฒนาชุมชนในการปรับปรุงสุขาภิบาลหมู่บ้านจนปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับ ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3