การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
85 ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว รูปแบบของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาสุขภาพจาก อุบัติเหตุ ภัยพิบัติและภัยสุขภาพ ปัญหาการจัดการกาลังคนด้านสุขภาพ ปัญหาการบริหาร จัดการระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงจาเป็นต้องวางแผนเพื่อ เตรียมรับมือกับปัญหาด้านสุขภาพดังกล่าวประกอบกับแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2559 ดังนั้น เพื่อให้การดาเนินงานพัฒนาคุณภาพ สุขภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคณะทางานจึงจัดทาแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2564) โดยแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับนี้เป็นแผนพัฒนาระยะ 5 ปี อยู่ภายใต้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 และสอดรับกับ เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในข้อ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพ คน และข้อ 4 ยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งจะเป็น กลไกเชื่อมต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าวนาไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้ยึด กรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ประเด็นการปฏิรูป ประเทศด้านสาธารณสุข ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 และกรอบแนวทางแผน ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ซึ่งแผนพัฒนาสุขภาพแงชาติฉบับที่ 12 นี้ เป็นช่วงระยะเวลา ของการปฏิรูปประเทศในระยะ 5 ปีแรก และจะเป็นการวางรากฐานของระบบสุขภาพให้ เข้มแข็ง มีเอกภาพ สามารถต่อยอดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้แผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับต่อ ๆ ไป จึงกาหนดยุทธศาสตร์ (คณะกรรมการอานวยการจัดทาแผนพัฒนา สุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข, 2559, หน้า 5 – 15) ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้าในระบบบริการสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ กาลังคนด้านสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ 2.9.4 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นเครื่องมือตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยหมวด 5 มาตรา 46 กาหนดให้ คสช. จัดทาธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการกาหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดาเนินงานด้านสุขภาพ ของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ และมาตรา 48 กาหนดไว้ว่า ธรรมนูญว่า ด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามาตรา 25 (2) ที่ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ผูกพันหน่วนงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่ จะต้องดาเนินการต่อไปตามอานาจหน้าที่ของตน โดยกาหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุก 5 ปี เป็นกรอบแนวทางในการดาเนินงานด้านสุขภาพที่ครอบคลุมสุขภาพในทุกมิติ คือ กาย จิต ปัญญา และสังคม เป็นภาพพึงประสงค์ร่วมของระบบสุขภาพ และเป็นกรอบแนวคิดของการ จัดทาธรรมนูญสุขภาพพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสื่อสารสาหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ ระบบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3