การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

86 สุขภาพในอนาคตที่เพิ่มเติมเนื้อหาจากฉบับแรกที่มี 12 หมวด เป็น 17 หมวด ได้แก่ หมวดสิทธิ และหน้าที่ด้านสุขภาพ สุขภาพจิต สุขภาพทางปัญญา การอภิบาลระบบสุขภาพ และธรรมนูญ สุขภาพพื้นที่ พร้อมปรับปรุงเนื้อหาสาระให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นเครื่องมือฉายภาพอนาคตของระบบสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2559 เห็นชอบธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอและได้รายงานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติทราบ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 อาศัยอานาจตามความในมาตรา 46 วรรคสามแห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้ประกาศธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2559 ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 และลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 ธันวาคม 2559 (ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564 , จาก https://infocenter.nationalhealth.or.th ) ในขณ ะเดียวกัน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึง ธรรมนูญฯ ฉบับนี้ได้สะท้อนให้เห็นภาพอนาคตที่พึงประสงค์ของระบบสุขภาพที่ชัดเจนในอีก 10 ปี ข้างหน้า และเห็นว่าธรรมนูญฯ ฉบับใหม่มีความสาคัญมากเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวระบบ สุขภาพของประเทศ โดยมาตรา 48 กาหนดว่า “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้วจะผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้อง ดาเนินการต่อไปตามอานาจหน้าที่” นายแพทย์พลเดช ยังได้ให้ความเห็นอีกว่า ธรรมนูญว่า ด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 นี้ สอดรับกับร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) ของรัฐบาล โดยที่ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งที่จะทาให้ประชาชนมีความ มั่นคงในชีวิต สนับสนุนการสร้างทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะก่อเกิดความมั่งคั่ง และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาในทุกระดับ อย่างสมดุลมีเสถียรภาพและยั่งยืน ยึดแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันก็ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ในยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ เพียงเรื่องสุขภาพกาย แต่รวมถึงสุขภาพใจ สังคมและปัญญา รวมถึงมุ่งเน้นบูรณาการให้ทุก ภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมออกแบบระบบสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการอย่าง แท้จริงซึ่งถือว่าตอบโจทย์นโยบาย “กลไกประชารัฐ” ของรัฐบาลด้วย (เจาะลึกระบบสุขภาพ, สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2564, จาก https://inforcenter.N ationalhealth.or.th) สาหรับสาระเนื้อหารายหมวดของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย ส่วนหลักการสาคัญของระบบสุขภาพ และส่วนสาระรายหมวดที่แบ่ง ข้อความเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่ ส่วนหลักการสาคัญ และส่วนภาพพึงประสงค์ของระบบ สุขภาพในหมวดนั้น ๆ ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า นาเสนอในรูปแบบตารางแสดงข้อความ ของธรรมนูญฯ รายข้อ พร้อมแสดงคาอธิบายเจตนารมณ์ของข้อความแต่ละข้อประกอบไว้ด้วย เพื่อสื่อสารความเข้าใจกับผู้ที่จะนาธรรมนูญฯ ไปใช้ โดยเนื้อหาหลักของธรรมนูญฯ ที่สาคัญ ได้แก่ การกาหนดให้ สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน โดยรัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3