การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
87 และคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สิทธิในการทาหนังสือแสดง เจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต นอกจากนี้ยังให้ความสาคัญกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้า และนโยบายสาธารณะต้องคานึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนนาแนวทาง “ทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ (Health in All Policies)” ไปใช้อย่างจริงจัง ขณะที่การบริการ สาธารณสุขต้องตอบสนองต่อ ความจาเป็นด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มโดยให้ ความสาคัญกับความเป็นธรรมในการเข้าถึง คุณภาพ ความปลอดภัย ความสุข และความพึง พอใจของทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ประชาชนจะมีหน่วยบริการประจาของตน ดูแลสุขภาพ ระดับปฐมภูมิ มีระบบเชื่อมโยงการดูแล บริการรับและส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม จึงต้องเน้น ความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของทุกภาคส่วน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการฯ ทุกระดับและมีบทบาทสาคัญในการสนับสนุนระบบ หลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะเครือข่ายระบบบริการปฐมภู มิในพื้นที่ (สานักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ , 2560, หน้า 44 – 50) 2.9.5 สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สมัชชาสุขภาพ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายไว้ว่า กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วม แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนาไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและ อย่างมีส่วนร่วม สมัชชาสุขภาพแห่งชาติเป็นรูปแบบหนึ่งของสมัชชาสุขภาพในการพัฒนา นโยบายสาธารณะตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนของ สังคมได้เข้ามาทางานขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพร่วมกัน ด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติได้กาหนดให้มีการจัด “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ” เป็นประจา ทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีการจัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 และ จัดต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ สาระสาคัญของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปรากฏอยู่ใน หมวด 4 มาตรา 41, 42, 43, 44 และ 45 ในพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 วัตถุประสงค์ ที่สาคัญของสมัชชาสุขภาพ คือ การเปิดพื้นที่ทางสังคมให้กว้างขวางและหลากหลายขึ้น เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ ในสังคม ได้มีโอกาสพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้หลักการ ของประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง (Deliberative democracy) และทางานเพื่อสาธารณะ บนพื้นฐานทางปัญญาร่วมกัน ช่วยกันค้นหาทางออกหรือการมีข้อเสนอในการปฏิบัติต่อ ฝ่ายต่าง ๆ ที่เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่มุ่งผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดสุขภาวะ รวมทั้งการพัฒนาแนวคิดและนวัตกรรมต่าง ๆ ด้วย ซึ่งเป็นกระบวนการทางานอย่างสร้างสรรค์ มีการใช้ทั้งความรู้และความรัก ความเข้าใจกันและกัน โดยมีความต้องการให้คนมีสุขภาพที่ดี มีความสุข และสังคมมีสุขภาวะ การจัดทาแผนปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุก ระยะ 5 ปี และมีการทบทวนการทางานทุก 1 ปี เพื่อลดความเหลื่อมล้าและเพิ่มประสิทธิภาพ ระหว่าง ระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบ โดยมีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและกาหนด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3