การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

88 ประเทศไทยดังกล่าว แต่การกำหนดหลักเกณฑ์การบรรลุนิติภาวะของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับบริบทของ ประเทศนั้น ๆ เช่น จารีตประเพณี ความเชื่อทางศาสนา เศรษฐกิจ สังคม และภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ จึง ทำให้การบรรลุนิติภาวะของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 18- 21 ปีบริบูรณ์ วัตถุประสงค์ในการกำหนดเกณฑ์การบรรลุนิติภาวะ เพื่อให้บุคคลสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายโดย สมบูรณ์ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของบุคคอื่น และพ้นจากภาวะผู้เยาว์ แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่บรรลุนิติ ภาวะนั้นจะต้องมีความรู้ สติปัญญา ความสามารถ ความรับผิดชอบ อย่างเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตด้วยตนเอง ได้ สิ่งสำคัญในการกำหนดเกณฑ์อายุการบรรลุนิติภาวะพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ การศึกษาในประเทศ พบว่า มีการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยแบ่ง การศึกษาออกป็น 2 ระบบ คือการศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบโรงเรียน ซึ่งรัฐดำเนินการให้ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่ เก็บค่าใช้จ่ายและให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอด ชีวิต จัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุก ระดับ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดการการศึกษา 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการวางรากฐานให้คนไทยเป็นคนเก่งมีทักษะความรู้ความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ขาด แคลนแรงงาน ในภาวะที่การผลิตแรงงานของไทยก็ยังต่ำ เนื่องจากปัญหาคุณภาพแรงงาน การจัดการศึกษาใน แบบอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ ในการผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพระดับฝีมือ ระดับ เทคนิค และระดับเทคโนโลยี และยกระดับการศึกษาวิชาชีพให้สูงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีการจัดการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาระบบทวิ ภาคี เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงการศึกษาในสายอาชีพได้ง่ายขึ้นและเป็นการผลิตกำลังคนออกสู่ตลาดแรงงาน ชดเชยการขาดแคลนแรงงานในยุคของสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ ประกอบกับการจัดการศึกษาของประชากรทุก ช่วงวัยให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิตอย่าง ต่อเนื่องจึงได้มีการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาโดยยึด หลักความเสมอภาคในการเข้าถึงได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง เป็นธรรม และมีคุณภาพเหมาะสมกับ สภาพชีวิตของประชาชน เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนและสังคม ที่ใช้ความรู้และภูมิปัญญาเป็นฐานในการ พัฒนา ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความมั่นคง และคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพัฒนาประเทศ และจากการ เปลี่ยนแปลงการศึกษาในยุคพลิกผันที่เกิดจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า เป็นการเรียนรู้สมัยใหม่คือให้นักศึกษาต้องลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ทักษะหรือ Skills การฝึกลงมือทำคือทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องเรียนให้ได้องค์ประกอบส่วนที่เป็นผู้นำการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3