การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

97 จะบรรลุนิติภาวะ บุคคลนั้นควรจะมีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสามารถประกอบอาชีพมีรายได้ด้วยตนเอง ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ประเด็นความเหมาะสมเกี่ยวกับสิทธิการบรรลุนิติ ภาวะของบุคคลตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้ให้ข้อมูลในทิศทางเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี การศึกษาที่หาได้ทั่วไปทางอินเตอร์เน็ตทำให้คนมีความรู้ ความสามารถแตกต่างจากในอดีตเป็น อย่างมาก และสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนไปทำให้บุคคลในช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีต้องออกมาประกอบอาชีพ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวมากยิ่งขึ้น ในด้านการใช้สิทธิในการทำนิติกรรมของบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มี ความเห็นสอดคล้องกันว่าควรให้สิทธิบุคคลอายุ 18 ปี สามารถทำนิติกรรมได้เหมือนกับบุคคลบรรลุนิติภาวะ แล้ว แต่ให้ข้อสังเกตว่า การการทำนิติกรรมบางอย่างที่ต้องใช้วุฒิภาวะที่สูงควรได้รับการพิจารณาแยกเฉพาะ การกระทำนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ เช่น การทำนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนหรือรับโอนที่ดินหรือบ้าน จำเป็นต้อง ได้รับความรู้เห็นบิดามารดาด้วย สำหรับผลคำตอบการระดมความคิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus Group) ทั้ง 4 กลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ใช้สิทธิในการ ประกอบอาชีพ และการทำนิติกรรมอย่างอิสระ โดยจำแนกออกตามอายุและความสามารถให้ชัดเจน 4.2.2 สิทธิในการบรรลุนิติภาวะของบุคคล สิทธิการบรรลุนิติภาวะของบุคคลเป็นเรื่องความสามารถในการทรงสิทธิ และความสามารถในการ ทำนิติกรรมของบุคคลธรรมดา แต่การบรรลุนิติภาวะมิใช่นิติกรรมเพราะไม่มีการกระทำ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 149 แต่เป็นนิติเหตุ คือเหตุที่เกิดจากการเจริญเติบโตของมนุษย์จนเป็น ผู้ใหญ่ในทางกฎหมายเรียกว่า “การบรรลุนิติภาวะ” ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะถูกจำกัดความสามารถในการใช้ สิทธิ และการทำนิติกรรม เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านความรู้ ความสามารถ และความ รับผิดชอบที่จะดำเนินการใช้สิทธิได้เท่าเทียมกับผู้อื่น บุคคลที่รัฐได้จำกัดสิทธิดังกล่าว ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ เพื่อความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จากการศึกษาสิทธิของ บุคคลตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) เห็น ว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปกป้องเพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเสรี เท่าเทียม และมี ศักดิ์ศรี คำว่า “สิทธิ”หมายรวมทั้ง “สิทธิตามกฎหมาย” และ “สิทธินอกกฎหมาย”สิทธิประเภทหลังเป็นสิทธิ ที่มีอยู่เองตามธรรมชาติถือว่าเป็นสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์นั่นเอง สิทธิมนุษยชนแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) สิทธิในความปลอดภัย (Security Rights) เป็นสิทธิที่ รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองประชาชนของตนจากอาชญากรรมต่าง ๆ 2) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (Right to Fair Trial & Due Process Rights) เป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลทุกคนให้มีความเสมอกันในทางกฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ 3) สิทธิในเสรีภาพ (Liberty Rights) จะต้องไม่ถูกแทรกแซงความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน ความคิด การติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการนับถือศาสนา 4) สิทธิทางการเมือง (Political Rights) จะต้องได้รับความคุ้มครองเสรีภาพนการมีส่วนร่วมในทางการเมือง 5) สิทธิในความเสมอภาค (Equality

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3