การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

99 ปี จะไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายดังกล่าว ด้วยเหตุว่าบุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์เป็นผู้ที่มีวุฒิ ภาวะ ความรู้ความสามารถ และความรับผิดชอบ เพียงพอแล้ว 4.2.3 สิทธิของบุคคลตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคม จากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการนำเอาเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์มาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การศึกษา ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ส่งผลให้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคสังคมสูงอายุทำให้ โครงสร้างของประชากรมีการเปลี่ยนแปลง จำนวนผู้สูงอายุมีมากขึ้นในทางกลับกันจำนวนประชากรที่เกิดใหม่ ลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก เพราะมีกลุ่มประชากรในวัยทำงานน้อยลง เกิดผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจภายในประเทศจากการขาดแคลนกำลังคนทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ทำให้คนที่ใช้ แรงงานมีรายได้และค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ขาดการบริโภค ขาดเงินออม ส่งผลให้ไม่สามารถช่วยเหลือ เกื้อกูลครอบครัว เด็ก และผู้สูงอายุได้ จากการเปลี่ยนแปลงของสังคมดังกล่าวทำให้เด็กต้องเข้าสู่การประกอบ อาชีพเร็วขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัว และสืบเนื่องจากการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มีการ ส่งเสริมประสบการณ์การประกอบอาชีพในสถานศึกษาทำให้มีความพร้อมในการทำงาน ซึ่งการใช้สิทธิของ บุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่มีความมุ่งหมายเพื่อรองรับแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควร ได้รับการคุ้มครองจากรัฐเพื่อรักษาศักศรีความเป็นมนุษย์ไว้ โดยมิให้รัฐใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออก กฎหมายเพื่อลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีเหตุอันควร หรือเกินความจำเป็น โดยกำหนดหลัก แห่งความเสมอภาคของบุคคล และห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม และคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่ปรากฎว่าในการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่มีอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์นั้นยังไม่สามารถกระทำได้ อย่างอิระ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจการค้าหรือธุรกิจอื่นหรือการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้าง แรงงาน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวกฎหมายยังถือว่าเป็นผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช พ.ศ. 2535 จึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากการประกอบธุรกิจหรือการทำงานก่อให้เกิดความ เสียหายถึงขนาดผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอมเสียก็ได้ ทำให้การประกอบธุรกิจของผู้เยาว์ขาด ความเชื่อถือได้ เห็นได้ว่าสิทธิในการประกอบอาชีพเป็นการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม สิทธิมนุษยชน และ สิทธิการใช้แรงงานที่ได้รับการยอมรับอย่างสากล ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization.ILO) ได้มีมติเกี่ยวกับอายุขั้นต่ำที่ให้จ้างแรงงาน โดยได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยอายุขั้นต่ำ คศ. 1973 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1973 กำหนดอายุขั้นต่ำในการจ้างแรงงานหรือทำงานได้ต้องมีอายุที่สำเร็จ การศึกษาภาคบังคับ ต้องไม่ต่ำกว่า 15 ปี หากเป็นการจ้างงานหรือทำงานโดยลักษณะหรือสภาพของงานนั้น อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือศีลธรรมของผู้เยาว์ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในส่วนการใช้แรงงานเด็กห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็น ลูกจ้างเนื่องจากเด็กในวัยดังกล่าวยังอยู่ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3