การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

100 2560 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ส่วน เด็กที่มีอายุมากกว่า 18 ปี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการทำงานเท่ากับผู้ใหญ่จึงถือว่ามีสิทธิและเสรีภาพ ในการประกอบอาชีพอย่างเช่นแรงงานทั่วไป การประกอบอาชีพของผู้เยาว์เมื่ออายุ 18 ปีนั้น ได้แก่ การเข้ารับ ราชการเป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และการบรรจุเข้า รับราชการตำรวจพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 แสดงให้เห็นว่าผู้เยาว์ในวัยดังกล่าวมีความ เจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบแล้ว 4.3. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีผลต่อการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน จากประวัติศาสตร์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยได้ถูกประกาศใช้เป็นครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโองการให้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ในวันที่ 11 พฤศจิการยน พ.ศ. 2466 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 เป็นการนำเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ชาวฝรั่งเศสได้ร่างไว้ออกประกาศไปก่อนเพื่อให้ผู้พิพากษา และทนายความได้ศึกษา แต่เมื่อประกาศใช้ไปแล้วผลปรากฎว่าไม่เป็นที่เข้าใจแก่บรรดาผู้พิพากษาและ ทนายความและเป็นการเขียนไม่เป็นการสอดคล้องต้องกัน ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2468 จึงได้มีพระ ราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าเดิมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ประกาศใช้เมื่อ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 ยังไม่มีความสมบูรณ์จึงเป็นการสมควรให้มีการตรวจชำระใหม่ โดยมีโครงร่างแบบประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมัน และคัดลอกจากประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นเป็นหลัก เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่นในขณะนั้นได้คัดลอกมาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันอีกทีหนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศส และบางตอนมาจากประมวลกฎหมายสวิส และประกาศบรรพ 3 โดยมีผลใช้ บังคับในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2468 เช่นเดียวกัน ต่อมาได้มีการการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ของประเทศหลาย ฉบับเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช ที่มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศให้มีพระราชกฤษีกา การทบทวนความเหมาะสม ของกฎหมาย พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายมีความเหมาะสม เป็นธรรม ไม่เป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้กำหนดหลักการในการตรากฎหมายไว้ในมาตรา 77 โดย กำหนดให้รัฐพึงมีกฎหมายเท่าที่จำเป็น สอดคล้องกับสภาพการณ์ และกฎหมายจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพของประชาชน หลักในการตรากฎหมายดังกล่าวเป็นการรับรองสิทธิและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3