การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

102 ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการรองรับการขาดแคลนแรงงาน และชดเชยแรงงานในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ด้านการพัฒนาการของมนุษย์ พบว่า ในช่วงอายุ 17-20 ปีเป็นช่วงวัยรุ่นตอนปลายที่มีการพัฒนาทางด้าน ร่างกายอารมณ์ และสังคมอย่างสมบูรณ์พร้อมเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งกฎหมายให้การยอมรับบุคคลในช่วงอายุดังกล่าว ให้ดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง เช่น การยินยอมให้สมรสเมื่อมีอายุ 17 ปี การได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง การรับ ราชการ การอนุญาตให้มีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลเมื่อมีอายุ 18 ปี ส่วนเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ให้บรรลุ นิติภาวะ เห็นได้ว่าบุคคลในช่วงวัยดังกล่าวไม่มีความแตกต่างในด้านความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และวุฒิภาวะ แต่สำหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปี พบว่า กฎหมายได้ให้สิทธิและเสรีภาพมากกว่าบุคคลในช่วงอายุ อื่นอย่างเห็นได้เป็นที่ประจักษ์ เมื่อพิจารณาจากปัญหาเศรษฐกิจจากการเกิดโรคระบาด โควิ-19 ปัญหาทาง การเมืองจากการเรียกร้องสิทธิของบุคคล ปัญหาประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยทำให้แรงงานลดลง ควรเปิด โอกาสให้บุคคลในวัยดังกล่าวมีการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระอย่างเช่นบุคคลบรรลุนิติภาวะ ในด้านสังคม พบว่า ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมสู่สังคมยุคใหม่ที่เรียกว่า “The New Normal” เกิดจากการการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และวิกฤตเศรษฐกิจจากการ เกิดโรคระบาด COVID-19 ในประเทศ และการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประชากร ส่งผลต่อปัญหาเศรษฐกิจและ สังคมโดยรวมทุกภาคส่วน ปัญหาการออมของประชากรภายในประเทศลดลง ค่าใช้จ่ายของภาครัฐในด้าน สาธารณสุข การแพทย์ และสวัสดิการเพื่อการบริการสังคมเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคม เปลี่ยนแปลงไป บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต ทั้ง ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคม เริ่มมีการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ของตนเองเร็วขึ้นเพื่อปรับตัวให้ สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติมากยิ่งขึ้น ในการแบ่งแยกช่วงอายุของบุคคลตามความรู้ ความสามารถออกเป็นช่วงอายุอย่างชัดเจน พบว่ากฎหมาย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหลายฉบับให้ความยอมรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปี เป็นผู้มีวุฒิภาวะ ความรู้ ความสามารถ และ ความรับผิดชอบเพียงพอในการให้สิทธิและเสรีภาพ เท่ากับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เช่น พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2541 มาตรา 36 (2) กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 48 (2) กำหนดให้ผู้ที่จะได้รับ บรรจุเข้ารับราชการเป็นช้าราชการตำรวจต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แสดงให้ถึงการยอมรับสิทธิและ หน้าที่ของบุคคลที่มีอายุ 18 ปีในเรื่องการประกอบอาชีพ และบุคคลในวัยดังกล่าวมีวุฒิภาวะ ความรู้ ความ รับผิดชอบ เพียงพอเท่ากับบุคคลที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 (1) กำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์ สามล้อส่วนบุคคล หรือรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า การยอมรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์สามารถควบคุมรถยนต์รถยนต์สามล้อ หรือรถจักรยานยนต์ ส่วน บุคคล เป็นการให้ความยอมรับในเรื่องความรับผิดชอบของบุคคลในวัยดังกล่าว เนื่องจากการควบคุมหรือขับขี่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3