การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

108 หมายเหตุ : -เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีความ เจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี และการศึกษา เป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้ประชากรมีความรู้ความสามารถมาก ขึ้น ขณะเดียวกันโครงสร้างของประชากรเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยสัดส่วนวัยแรงงานลดน้อยลง ทำให้โครงสร้าง แรงงานเปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ และการเกิดโรคอุบัติใหม่แพร่ระบาดโรคโค วิด-19 ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง ประชากรขาดรายได้มาจุนเจือครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ควรเพิ่มกำลังแรงงานโดยเปิดโอกาสให้บุคคลอายุสิบแปดปีบริบูรณ์เข้ามาทดแทนแรงงานผู้สูงอายุของ ประเทศ พร้อมเป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลให้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์กำหนดเกณฑ์บรรลุนิติภาวะของบุคคลไว้ที่อายุยี่สิบปีบริบูรณ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ไม่สอดคล้อง กับกฎหมายอื่น ๆ ของประเทศไทยที่กำหนดสิทธิหน้าที่ของบุคคลไว้สิบแปดปีเท่านั้น ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 95 กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีในวัน เลือกตั้ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2541 มาตรา 36 (2) กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 48 (2) กำหนดให้ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการตำรวจมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 กำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ อีกทั้ง ให้มีความทันสมัยพัฒนาเทียบเท่ากับต่างประเทศที่ปรับเปลี่ยนอายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคลลดลง อาทิ ประเทศญี่ปุ่นปรับลดเกณฑ์อายุการบรรลุนิติภาวะจากเดิมยี่สิบปี มาเป็นสิบแปดปี สาธารณรัฐสิงคโปร์ปรับลด อายุขั้นต่ำความสามารถของบุคคลในการทำสัญญาจากยี่สิบเอ็ดปี ลดลงเป็นสิบแปดปี ประกอบกับ ข้อมูลทาง การแพทย์เห็นว่าบุคคลที่มีอายุสิบแปดปี เป็นช่วงพัฒนาการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีความเจริญเติบโตทาง ร่างกายสมบูรณ์เต็มที่ไม่แตกต่างจากบุคคลอายุยี่สิบปี ด้วยเหตุนี้ จึงสมควรแก้ไขปรับปรุงมาตรา 19 ให้บุคคล บรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุสิบแปดมีบริบูรณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3