การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

110 การพัฒนาศึกษา พบว่า ผลจากการที่ประชากรของประเทศไทยได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงซึ่ง แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบไปด้วยการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน ส่งผลให้ เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปีก่อนวัยเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ และเปิดให้การศึกษาโดยเน้น ด้านอาชีพ เพื่อมุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะวิชาชีพระดับฝีมือ เทคนิค และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงบุคคลที่มีช่วงอายุระหว่าง 17-18 ปี ได้รับพัฒนาการด้านความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เรียนรู้การฝึกอาชีพโดยตรงจากสถานประกอบการ ส่งผลให้เรียนรู้และดำเนิน ชีวิตจริงในสังคมตั้งแต่อยู่ในสถานศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตเมื่อจบการศึกษา ส่วนบุคคลที่ ไม่อยู่ในระบบการศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจาก Mobile learning, You Tube, Internet และ สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนและการฝึกอาชีพระยะสั้น ด้านการพัฒนาการของมนุษย์ พบว่า ในช่วงอายุตั้งแต่ 17-20 ปีเป็นช่วงวัยรุ่นตอนปลายที่มีการ พัฒนาทางด้านร่างกายอารมณ์ และสังคมอย่างสมบูรณ์พร้อมเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งกฎหมายให้การยอมรับบุคคล ในช่วงอายุดังกล่าวให้ดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง เช่น การยินยอมให้สมรสเมื่อมีอายุ 17 ปี การได้รับสิทธิในการ เลือกตั้ง การรับราชการ การอนุญาตให้มีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลเมื่อมีอายุ 18 ปี ส่วนเมื่อมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ให้บรรลุนิติภาวะ เห็นได้ว่าบุคคลในช่วงวัยดังกล่าวไม่มีความแตกต่างในด้านความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบและวุฒิภาวะ แต่สำหรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปี กฎหมายได้ให้สิทธิและเสรีภาพมากกว่าบุคคล ในช่วงอายุอื่นอย่างเห็นได้เป็นที่ประจักษ์ จากปัญหาเศรษฐกิจและเกิดโรคระบาด โควิ-19 ปัญหาทางการเมือง จากการเรียกร้องสิทธิของบุคคล ปัญหาประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยทำให้แรงงานลดลง ควรเปิดโอกาสให้ บุคคลในวัยดังกล่าวมีการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างอิสระอย่างเช่นบุคคลบรรลุนิติภาวะ ส่วนด้านสังคม พบว่า ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมสู่สังคมยุคใหม่ที่เรียกว่า “The New Normal” เกิดจากการการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และวิกฤต เศรษฐกิจจากการเกิดโรคระบาด COVID-19 ในประเทศ และการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประชากร ส่งผลต่อ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมทุกภาคส่วน การออมของประชากรภายในประเทศลดลง ค่าใช้จ่ายของ ภาครัฐในด้านสาธารณสุข การแพทย์ และสวัสดิการเพื่อการบริการสังคมเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การดำเนินชีวิตของ บุคคลในสังคมเปลี่ยนแปลงไป บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ดำเนินชีวิต ทั้งภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคม เริ่มหาวิธีสร้างรายได้ด้วยการประกอบอาชีพของตนเองเร็ว ยิ่งขึ้น เพื่อปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตและมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อครอบครัว สังคม และ ประเทศชาติมากยิ่งขึ้น จากผลการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา พัฒนาการของมนุษย์ และสังคม ทั้งสาม ด้านเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลในช่วงระหว่างวัย 17-20 เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของ สังคมในยุคศตวรรคที่ 21 ที่มี AI เทคโนโลยีเป็นปัจจัยพลิกผัน ด้วยเหตุนี้ เห็นควรให้โอกาสบุคคลที่มีอายุช่วง ระยะดังกล่าวเข้าสู่การประกอบอาชีพและเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ ประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยที่จะเกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3