การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

111 เมื่อพิจารณากำหนดอายุบรรลุนิติภาวะของบุคคลในต่างประเทศ พบว่า ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน เยอรมัน และประเทศมาเลเซีย ทั้ง 5 ประเทศ กำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะของ บุคคลแตกต่างกันออกไป เห็นได้จากประเทศที่กำหนดให้บรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 18 ปี มีสามประเทศ กล่าวคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศมาเลเซีย ส่วนประเทศที่มีการปรับ ลดอายุการบรรลุนิติภาวะในภายหลัง ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแก้ไขให้ลดอายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคลจาก เดิม 20 ปี เป็น 18 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ส่วนประเทศสิงคโปร์ กำหนดให้อายุการบรรลุนิติภาวะอยู่ที่ 21 ปี แต่มี การแก้ไขอายุขั้นต่ำของความสามารถตามสัญญาจะผูกกับอายุของคนส่วนใหญ่ จากเดิม 21 ปี เป็น 18 ปี 5.2.2 ความเหมาะสมเกี่ยวกับสิทธิการบรรลุนิติภาวะของบุคคลตามบริบทที่เปลี่ยนแปลง ของสังคม พบว่า การบรรลุนิติภาวะเป็นเรื่องความสามารถในการทรงสิทธิ และความสามารถในการทำนิติ กรรมของบุคคล ผู้ที่มีความสามารถดังกล่าวจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย คือมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ แต่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์จะถูกจำกัดความสามารถในการทรงสิทธิ และความสามารถในการทำนิติ กรรม เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบันเห็นได้ว่าบุคคลที่มีอายุ 18 ปีเริ่มประกอบอาชีพ มากขึ้นซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการศึกษา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย และการ แพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ควรพิจารณาความเหมาะสมของอายุในการบรรลุนิติภาวะให้สอดคล้องกับบริบท ที่เปลี่ยนแปลงของสังคม ในด้านความเหมาะสมกับการบรรลุนิติภาวะ พบว่า การบรรลุนิติภาวะเกิดจากการพัฒนาการ ร่างกายที่สมบูรณ์หรือมีวุฒิภาวะ มีการสร้างสมประสบการณ์ความชำนาญในทักษะต่าง ๆ การพิจารณาถึงการ บรรลุนิติภาวะจะต้องพิจารณาให้มีความรอบคอบในมุมมองที่หลากหลายมิติ ไม่ควรมองแค่มิติของอายุเพียง อย่างเดียวเท่านั้นด้วยเหตุว่ามนุษย์มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน เป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเกี่ยวโยงกันในทุกช่วงอายุในแต่ละช่วงวัยจะมีบางอย่างที่คล้ายกันและแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง ของร่างกาย การเจริญเติบโต ลักษณะพัฒนาการ ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรม และสุขภาพ ปัจจัย เหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เป็นปกติและไม่ปกติ ที่สามารถควบคุมได้และไม่ สามารถควบคุมได้ ผลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลมีความเห็นสอดคล้อง และการระดมความ คิดเห็นด้วยการสนทนากลุ่มเจาะจง มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการเปิดโอกาสให้บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติ ภาวะได้ใช้สิทธิในการประกอบอาชีพ และการทำนิติกรรมอย่างอิสระ โดยจำแนกออกตามอายุ และ ความสามารถให้ชัดเจน 5.2.3. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีผลต่อการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน พบว่า การกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคลไว้ที่ 20 ปีบริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของ ประเทศไทยได้ถูกประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 ถึงปี พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 97 ปีและยังไม่มีการปรับปรุง แก้ไขให้มีความสอดคล้องกับปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำ ให้ความสามารถบุคคลเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการยอมรับบุคคลที่มีอายุ 18 ปีมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากการให้สิทธิใน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3