การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก่อให้เกิดนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ และ อินเทอร์เน็ตทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทย ในขณะที่โครงสร้างประชากรภายในประเทศเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย สัดส่วนวัยแรงงานลดน้อยลง ทำให้มีช่วงอายุที่แตกต่างกันเพิ่มขึ้น การเตรียมความพร้อมประชากร ภายในประเทศเป็นสิ่งสำคัญก่อให้เกิดความท้าทายต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ ความรู้ และ ทักษะ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและการขาดแคลนแรงงาน มนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการให้มีความทันสมัยเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ในยุคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป การดำรงชีวิตจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกันทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ เมื่อประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการร่วมมือกันจัดตั้งประชาคม อาเซียน (Association of South East Asia) ทำให้มีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเดิน ทางเข้าออกไปทำงานในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนได้ ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนได้พัฒนาความสามารถของคนในสังคม โดยเฉพาะบุคคล ที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีแนวคิดและทักษะด้านแรงงานที่มีฝีมือ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนให้ มีความสอดคล้อง ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เน้นพัฒนาทักษะทางอาชีพ ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเตรียม ความพร้อมด้านกำลังคนและพัฒนาทักษะของทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยุคพลิกผัน ด้วยการพัฒนาการศึกษาอย่างทั่วถึง ก่อให้เกิดความรู้ทักษะอาชีพ แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา เห็นได้จาก จำนวนผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทุกระดับการศึกษา ปี พ.ศ.2564 จำนวน 1,815,185 คน (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2564) และมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน 207,064 คน (กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานอาชีวศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคน อาชีวศึกษา, 2565) ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาอยู่ระหว่างอายุ 17-18 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีความพร้อม และสามารถเป็นผู้ประกอบการอิสระได้ แต่ด้วยข้อกำหนดกฎหมายถือว่าบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุดังกล่าวมี สภาวะเป็นผู้เยาว์ย่อมถูกกำหนดด้านสิทธิและหน้าที่อย่างจำกัด แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้ เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญา มีสุขภาวะที่ดี รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3