การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 สนับสนุนให้ประชากรเป็นผู้มีทักษะสูง และแผนแม่บทการพัฒนาศักยภาพคนไทยตามช่วงวัย พ.ศ.2561-2579 มีวัตถุประสงค์พัฒนาศักยภาพคนไทยตามช่วงวัยในระยะ 20 ปีข้างหน้าด้วยการทบทวนวิเคราะห์ใช้กรอบ PEASTEL วิเคราะห์แนวโน้มใหญ่ใน 6 ด้านคือ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ประชากร ด้านเทคโนโลยี ด้าน สิ่งแวดล้อม และด้านกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 เป็นการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคนและการ เสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย โดยมุ่งเน้นให้เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ มีทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตที่พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานที่เหมาะสมกับวัยและ ประสบการณ์ เพื่อสร้างวุฒิภาวะและเตรียมความพร้อมให้กับคนรุ่นใหม่มีศักยภาพของตนเองได้โดยไม่ต้อง คำนึงถึงช่วงวัยและนำเอาอายุมาเป็นตัวกำหนด แต่กฎหมายยังไม่มีความสอดรับกับแผนพัฒนาดังกล่าว อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กำหนดสิทธิการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ไว้ที่อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขณะที่มาตรา 20 ให้บุคคลที่อายุ 17 ปีสามารถทำการสมรสได้และผลการสมรสทำให้บรรลุนิติภาวะ เป็นผู้ที่ พร้อมด้วยวุฒิภาวะความเหมาะสมในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ เมื่อพิจารณาประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคม พุทธศักราช 2468 เนิ่นนานกว่า 97 ปี แล้ว และข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่อยู่ในช่วงอายุเฉลี่ยที่ไม่ถึง 20 ปี ถูกกำหนดให้อยู่ใน สถานะเป็นผู้เยาว์หรือผู้หย่อนความสามารถต้องได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจึงส่งผลต่อการพัฒนา ประชากรในช่วงวัยของคนรุ่นใหม่ ที่นำเรื่องอายุเกี่ยวกับการบรรลุนิติภาวะมาเป็นข้อกำหนดสิทธิหน้าที่และ ความสามารถของบุคคลในบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ใช้ แพร่หลายทั่วโลก ประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์ในยุคประสบปัญหาโรคอุบัติใหม่ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีอย่าง ต่อเนื่องและทั่วโลกให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสารสนเทศถูกนำมาใช้ในการสื่อสารทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งด้าน อุตสาหกรรม การศึกษา การทำงาน ที่ทุกอย่างพลิกผันไปอย่างรวดเร็วในยุคของการพึ่งพาด้วยเทคโนโลยีและ ดิจิทัล ประกอบกับเข้าสู่สถานการณ์โครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน ในทางกลับกันรัฐ ต้องรับภาระด้านสวัสดิการผู้สูงอายุมากขึ้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับแรงงานผู้สูงอายุที่ขาดหายไปเป็น สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐจำเป็นต้องริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนด อายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคลได้รับสิทธิหน้าที่ให้มากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้ จึงไม่ควรจำกัดสิทธิหน้าที่ของบุคคลด้วยเหตุที่เกี่ยวกับ อายุบรรลุนิติภาวะของบุคคลมาเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมทดแทนแรงงานผู้สูงอายุไป ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ สำหรับสิทธิบรรลุนิติภาวะของต่างประเทศ สำหรับสาธารณรัฐประชาชนจีนกฎหมายแพ่งกำหนดให้ผู้ที่มี อายุตั้งแต่สิบหกถึงสิบแปดปี ที่ทำมาหากินด้วยตัวเองเป็นผู้มีความสามารถปฏิบัติตามกฎหมายแพ่ง ( Civil

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3