การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3 Code of The People’s Republic of China (Article17,18) , 2020) ส่วนประเทศญี่ปุ่น(Civil Code (Part I, Part II, and Part III) ประมวลกฎหมายแพ่งกำหนดเรื่องความสามารถในการดำเนินการใช้สิทธิทางกฎหมายโดย กำหนดอายุบรรลุนิติภาวะเมื่อบุคคลมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต่อมาเดือนมิถุนายน 2018 แก้ไขปรับลดอายุผู้ บรรลุนิติภาวะเป็น 18 ปี (ประมวลกฎหมายแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฉบับที่ 59 ของปี 2561 มาตรา 4) ขณะที่ประเทศมาเลเซีย มีพระราชบัญญัติอายุเสียงข้างมาก พ.ศ. 2514 กำหนดให้บุคคลในประเทศ มาเลเซียบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 18 ปีขึ้นไป (Anne Dorall, 2020) ส่วนสาธารณรัฐสิงคโปร์พระราชบัญญัติ กฎหมายแพ่ง (Civil Law Act (Chapter 43)) กำหนดอายุขั้นต่ำให้ผู้ที่มีความสามารถทำสัญญาได้จากอายุ 21 ปี ลดลงเป็นอายุ 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประมวลกฎหมายแพ่ง (BGB)ในส่วนทั่วไป (Bürgerliches Gesetzbuch.(BGB)) การบรรลุนิติภาวะอายุส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออายุครบ 18 ปี (§2 BGB) ส่วน ประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับให้สิทธิหน้าที่กับบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป อาทิรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 95 กำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2541 มาตรา 36 (2) กำหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็น ข้าราชการพลเรือนอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 48(2) กำหนดให้ ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการตำรวจมีอายุไม่ต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์ และพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 46 กำหนดให้ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมีอายุไม่ต่ำกว่า18 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่กำหนดกฎเกณฑ์และกติกาให้ถือปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคม แต่กฎหมาย นำมาบังคับใช้ในปัจจุบันอาจเป็นปัญหาให้สังคมเช่นเดียวกัน หากกฎหมายนั้นไม่ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมของคนทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเป็นการรองรับทดแทนแรงงานของผู้สูงอายุที่ลดน้อยถอยลงไปและเป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 (ค) กำหนดให้มีการปรับปรุงกฎหมายออกกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย ที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของ ประเทศ และสอดคล้องกับหลักสากล ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาแนวคิดใหม่ในการกำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะในยุคพลิกผัน ที่มีผลต่อ การ กำหนดอายุการบรรลุนิติภาวะของบุคคลมีความเหมาะสมเพียงใด เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับทดแทน แรงงานผู้สูงอายุ รวมถึงกำหนดสิทธิหน้าที่ของบุคคลเพิ่มมากขึ้นโดยนำบริบทของเศรษฐกิจและสังคม สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3