การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

6 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ในประเทศไทยได้ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสภาพบุคคล ส่วนที่ 2 ในเรื่องความสามารถของบุคคล ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 กำหนดให้บุคคลย่อม พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เห็นได้ว่าความคิดรากฐานในการร่างประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย มีแนวทางเดียวกับกฎหมายในภาคพื้นยุโรปเป็นหลัก มีการนำ แบบอย่างมาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น มาเป็นแม่แบบหลัก ยังมี ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส และประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเป็นแม่แบบรองในการยกร่างกฎหมายเพียง เท่านั้น การกำหนดอายุผู้บรรลุนิติภาวะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้นำมาจากประเทศต่าง ๆ นั้น จะเกิดเป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไร หรือมีความเหมาะสมต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยปัจจุบัน หรือไม่ ควรมีการศึกษาถึงการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์ในประเทศไทยขึ้นมาใหม่ ในหลายมิติตามหลักการ ทฤษฎีและองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา การพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้เยาว์ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสม หรือเป็นการให้เหตุผลถึงความเหมาะสมกับสิ่งที่ เป็นอยู่ว่ามีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และทันสมัยหรือไม่ ดังนั้นการศึกษาการบรรลุนิติภาวะของ ของผู้เยาว์ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบันควรมีการศึกษาจากแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1. การบรรลุนิติภาวะ 2.2. ผู้เยาว์และความสามารถของผู้เยาว์ 2.3 ความเหมาะสมของการบรรลุนิติภาวะ 2.4. การพัฒนาทางสติปัญญาของผู้เยาว์ 2.5. การพัฒนาการศึกษา 2.6. หลักการว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ 2.7. หลักว่าด้วยการประกอบอาชีพ 2.8. หลักการว่าด้วยแนวคิดใหม่ 2.9. การเปลี่ยนแปลงในยุคพลิกผัน 2.10. กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย 2.11. การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุนิติภาวะของบุคคล

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3