การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

7 2.1 การบรรลุนิติภาวะ การบรรลุนิติภาวะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลธรรมดาในการทรงสิทธิ และความสามารถใน การทำนิติกรรม สิ่งสำคัญเบื้องต้นในการทรงสิทธิและการทำนิติกรรมจะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะถึงจะมี ความสามารถดังกล่าวได้ แต่การบรรลุนิติภาวะไม่ใช่นิติกรรมเพราะไม่มีการกระทำจึงขาดหลักเกณฑ์ของการ เป็นนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันได้บัญญัตินิยามของนิติกรรมไว้ใน มาตรา 149 หมายถึง การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติ สัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นจากบทบัญญัติเกี่ยวกับ ความหมายหรือนิยามของนิติกรรมจะต้องเป็นการกระทำ แต่การบรรลุนิติภาวะเป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่มีผล ในทางกฎหมายที่ไม่มีการกระทำเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การบรรลุนิติภาวะนั้นเป็นเรื่องที่เรียกกันในทางวิชาการว่า “นิติการณ์” หรือนักกฎหมายเรียกว่า “นิติเหตุ” เป็นเหตุที่เกิดจากมนุษย์ เมื่อแรกเกิดเป็นเด็กและค่อยโตขึ้น จนเป็นผู้ใหญ่ จึงมีผลในทางในทางกฎหมายเรียกว่า “ผู้บรรลุนิติภาวะ” ดังนั้นการบรรลุนิติภาวะจึงเกี่ยวข้อง กับการเจริญวัยของมนุษย์หรือของบุคคลธรรมดานั่นเอง (คณิต ณ นคร, 2559) 2.1.1 ความหมายการบรรลุนิติภาวะ เมื่อการบรรลุนิติภาวะมิใช่นิติกรรมตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน แต่เป็น นิติเหตุ ที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลในทางกฎหมายอันมิใช่นิติกรรม เช่น การละเมิด, โบราณใช้ว่า นิติ การณ์ การบรรลุนิติภาวะจึงเป็นเหตุการณ์อันเกิดจากการเจริญเติบโตของมนุษย์ และถูกกำหนดขึ้นในภายหลัง ด้วยประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อทางศาสนา หรืออำนาจของรัฐ ของสังคมนั้น ๆ เพื่อเป็นการรักษาความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีภายในสังคม ดังนั้นการบรรลุนิติภาวะจึงมีความหมาย ดังนี้ การบรรลุนิติภาวะ หรือ “Sui juris” เป็นภาษาละติน แปลว่า "ในสิทธิของตนเอง" เพื่อให้ถือว่า บรรลุนิติภาวะ บุคคลต้องมีสิทธิตามกฎหมายโดยสมบูรณ์ และต้องไม่อยู่ภายใต้อำนาจหรือการปกครองของ บุคคลอื่น (West’s Encyclopedia of American Law, edition 2., 2008) การบรรลุนิติภาวะ หมายถึง มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มี ความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะ ผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2554a) การบรรลุนิติภาวะในบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2468 มาตรา 19 บัญญัติว่า เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์ และบรรลุ นิติภาวะ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำเมื่อฝ่าย ชายผู้เยาว์มีอายุสิบเจ็ดปี และฝ่ายหญิงผู้เยาว์มีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว (พระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่, 2468)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3