การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

8 การบรรลุนิติภาวะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 19 บัญญัติว่า บุคคล ย่อมพ้นจากผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมาตรา 20 บัญญัติว่า ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติ ภาวะเมื่อทำการสมรส หากหารสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 (พระราชกฤษฎีกา ให้ ใช้บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่, 2535) ดังนั้น เมื่อพิจารณาความหมายการบรรลุนิติภาวะ เห็นได้ว่า อายุในการบรรลุนิติภาวะของบุคคลใน ประเทศไทยนั้นไม่มีความแตกต่างกันคือเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ในการสมรสที่ทำให้บุคคลบรรลุนิติ ภาวะตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2468 มาตรา 20 ที่กำหนดให้ฝ่ายชายมีอายุสิบเจ็ดปี และฝ่ายหญิงมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่งมีความแตกต่างกันใน เรื่องอายุของชายและหญิงทำให้ยากแก่การตีความจึงได้มีการแก้ไขในเรื่องอายุของการสมรสให้เท่ากันระหว่าง ชายและหญิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 ให้บุคคลบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสเมื่อชาย และหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ แสดงให้เห็นว่าอายุในการสมรสมิได้ถูกกำหนดขึ้นตามความเหมาะสมด้าน วุฒิภาวะของบุคคล สามารถปรับเปลี่ยนได้ ผลจากการบรรลุนิติภาวะทำให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามกฎหมายได้โดยอิสระด้วยตนเองเท่าเทียมบุคคลในสังคม และไม่อยู่ภายใต้อำนาจหรือการปกครองของ บุคคลอื่น 2.1.2 เหตุแห่งการบรรลุนิติภาวะ เมื่อการบรรลุนิติภาวะเป็นนิติเหตุอันเกิดจากการพัฒนาการ จากการเจริญเติบโตของมนุษย์ และ ถูกกำหนดขึ้นในภายหลัง จากประเพณีดั้งเดิม ความเชื่อทางศาสนา หรืออำนาจของรัฐ ของสังคมนั้น ๆ เพื่อ เป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีภายในสังคม การบรรลุนิติภาวะจึงเกิดได้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 การบรรลุนิติภาวะในทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น การบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นการบรรลุนิติภาวะตามเงื่อนไขของอายุที่กฎหมายกำหนดขึ้น โดยรัฐเห็นว่าบุคคลที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ มีสภาพร่างกาย สติปัญญา ความสามารถ และความรับผิดชอบเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตได้ด้วย ตนเอง สามารถใช้สิทธิ และเสรีภาพในทางกฎหมายได้อย่างอิสระ และการบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 20 เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้บุคคลบรรลุนิติภาวะ ซึ่งการสมรสเป็น การแสดงให้เห็นว่าชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและจะต้องแสดงความยินยอมนั้นให้ปรากฏโดย เปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน (มาตรา 1457 และมาตรา 1458) และต้องกระทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448 คือ การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันควรศาลอาจอนุญาต ให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ การสมรสดังกล่าวจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมและจดทะเบียน ให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงถือได้ว่าบุคคลที่สมรสเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ กรณีที่ 2 เกิดจากการเจริญเติบโตของมนุษย์ จากการพัฒนาการของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต แม้บุคคลที่อยู่ในวัยเดียวกันยังมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน พัฒนาการของมนุษย์เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา จนกระทั่งสิ้นชีวิต ในการแบ่งช่วงวัยจะเริ่ม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3