การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
9 ตั้งแต่คลอดจนถึงวัยสูงอายุ โดยอธิบายลักษณะรวม ๆ ตามลักษณะการพัฒนาที่แตกต่างกัน นักจิตวิทยา พัฒนาการแบ่งช่วงของชีวิตออกอย่างกว้าง ๆ ดังนี้ วัยก่อนคลอด วัยทารกแรกเกิด วัยทารกตอนปลาย วัยแรก รุ่น วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยกลางคน และวัยสูงอายุ การแบ่งนี้ เป็นไปตามหลักการทางวิชาการ เพื่อ ประโยชน์ในการอธิบายข้อเท็จจริง ลักษณะประจำของวัยต่างๆ อาจมีการเหลื่อมล้ำและไม่อาจแยกจากกัน อย่างเด็ดขาดได้ ช่วงวัยที่จะนำมากล่าวถึงจึงเป็นช่วงวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ เป็นวัยที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้องกับ การวิจัยโดยตรงเท่านั้น ช่วงวัยรุ่น (Adolescence) คือช่วงวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จะอยู่ในช่วงอายุ ตั้งแต่ 12-20 ปี เป็นวัยที่สำคัญของมนุษย์ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ในด้านจิตวิทยาพัฒนาการ ได้แบ่งวัยรุ่นออกเป็นสองระยะ ได้แก่ วัยรุ่นตอนต้น (Puberty) เริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย (Adolescence) เริ่มตั้งแต่อายุ 16-20 ปี การพัฒนา ต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้ วัยรุ่นตอนต้น (Puberty) เริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 ปี มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว เริ่มแสดงสัดส่วนของความเป็นผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงและแสดงสัญลักษณ์ทางเพศอย่างชัดเจน เพศหญิงจะเริ่มมีรอบเดือนเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการเป็นวัยรุ่น ส่วนจะเริ่มเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพและพันธุกรรมของแต่ละบุคคล โดยเฉลี่ยเด็กไทยจะเริ่มเมื่อมีอายุประมาณ 12 ปี 6 เดือน จากนั้นจะมีหน้าอก สะโพกขยาย เสียงเริ่มเปลี่ยน มีขนลับขึ้นที่อวัยวะเพศ ส่วนเพศชาย อัณฑะจะเจริญเติบโต เต็มที่และเริ่มต้นผลิตอสุจิในช่วงอายุประมาณ 14 ปี 6 เดือน อวัยวะเพศจะเจริญคล้ายกับผู้ใหญ่ เกิดการฝัน เปียกและเสียงแตกห้าว เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงแรกเท่านั้น และจะเริ่มเข้าสู่ วัยรุ่นตอนปลาย (เติมศักดิ์ คทวณิช, 2556) ในช่วงอายุ 14-16ปี จะเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างวัยรุ่นตอนกลาง อารมณ์จะเริ่มสงบเมื่อเทียบกับช่วง วัยรุ่นตอนต้น พัฒนาการทางด้านความคิดจะสุขุมรอบคอบและมีเหตุผลสามารถปรับตัวตามสถานการณ์ และมี ความยืดหยุ่นแต่ยังมีโอกาสที่จะต่อต้านพ่อแม่อยู่เพราะมีความต้องการพื้นที่ของตนเอง การพึ่งพาตนเอง และ ต้องการความยอมรับจากคนรอบข้าง ส่วนทางด้านจิตใจจะมีความอยากรู้อยากเห็นมักสังเกตปฎิกริยาคนรอบ ข้างและสิ่งรอบตัวที่สนใจและท้าทายความสามารถ การสนับสนุนและส่งเสริมเด็กในวัยนี้ในขอบเขตที่เหมาะสม ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีการยึดถือความยุติธรรมซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นผู้ใหญ่และ ให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เกิดการเรียกร้องและตอบสนองความยุติธรรมทั้งในแง่ของบุคคลและสังคมส่วนรวม (ชนม์นิภา แก้วพูลศรี, 2563) ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย (Adolescence) เริ่มตั้งแต่อายุ 17-20 ปี เป็นการพัฒนาต่อเนื่องกันมาจาก วัยรุ่นตอนต้นและตอนกลาง จนมีความสมบูรณ์พร้อม ทั้งทางร่างกายแข็งแรงที่สุด ทางด้านสังคม นิยมคบกับ เพื่อนร่วมวัยทั้งสองเพศ ไม่ค่อยชอบสนิทสนมกับคนสูงวัยกว่า อารมณ์เหมือนกับวัยรุ่นตอนต้น ๆ เริ่มมีการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3