การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
10 เลือกอาชีพ การค้นหาตนเอง และมีความขัดแย้งกับผู้ปกครอง ในตอนปลายของวัยจะเริ่มละทิ้งลักษณะนิสัย ความรู้สึกแบบเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ (ศรีเรือน แก้วกังวาน., 2564) วัยผู้ใหญ่ (Adulthood) ในวัยนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 20-60 ปี เป็นวัยที่มีความสมบูรณ์สูงสุดทั้ง ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน วัยผู้ใหญ่จะแบ่งช่วงชีวิต ออกเป็น 2 ช่วง คือ วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยนี้จะอยู่ในช่วง 20-40 ปี และวัยกลางคน วัยนี้มีอายุตั้งแต่ 41-60 ปี (สุจิตรา สุคนธทรัพย์ & รุ่งอรุน เขียวพุ่มพวง, 2559) สรุปได้ว่า การบรรลุนิติภาวะ ในทางกฎหมายกำหนดไว้เมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งนักจิตวิทยา พัฒนาการได้แบ่งช่วงอายุดังกล่าวจัดอยู่ในวัยรุ่นตอนปลายคือช่วงอายุ 17-20 ปี และเกี่ยวเนื่องกับวัยผู้ใหญ่ ตอนต้นคือช่วงอายุ 20-40 ปี ในช่วงอายุดังกล่าวมีการพัฒนาที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างสองวัยและไม่มีความ แตกต่างกันมากนักเนื่องจากอายุ 20 ปี เป็นช่วงปลายของวัยรุ่นและเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่มีการเริ่มทิ้งลักษณะนิสัย ความรู้สึกแบบเด็กและการพัฒนาทางด้านอารมณ์เริ่มเปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเพียงเท่านั้น เมื่อพิจารณา การบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสตามกฎหมาย เห็นว่าอายุที่อนุญาตให้ทำการสมรสก็อยู่ในช่วงเริ่มต้นของ วัยรุ่นตอนปลายเช่นเดียวกันแสดงให้เห็นถึงการยอมรับว่าในช่วงอายุ 17-20 ปีดังกล่าวเป็นช่วงที่มีความ สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย ทางด้านสังคม ด้านอารมณ์ และวุฒิภาวะพร้อมเป็นผู้ใหญ่และสามารถดำเนินชีวิตใช้ สิทธิของตนตามกฎหมายได้ด้วยตนเองอย่างเช่นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว 2.2 ผู้เยาว์และความสามารถของผู้เยาว์ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจนกระทั่งทำการสมรสตามกฎหมาย จากข้อกำหนดดังกล่าวพบว่าบุคคลที่ยังไม่ บรรลุนิติภาวะอยู่ในสถานะผู้เยาว์ การเริ่มต้นการเป็นผู้เยาว์เริ่มตั้งแต่การมีสภาพเป็นบุคคลจนกระทั่งมีอายุ ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจนกระทั่งทำการสมรสตามกฎหมาย 2.2.1 สิทธิของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เป็นผู้ที่อ่อนด้อยทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย ความคิดอ่าน ความรู้ ความชำนาญและวุฒิภาวะ ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเองได้โดยลำพัง เพราะอาจเป็นเหตุให้ผู้ไม่สุจริตก่อ ความเสียหายแก่ผู้เยาว์ได้ เป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้เยาว์ และอาจสร้างความวุ่นวายเกิดขึ้นในสังคม การที่จะกำหนดมิให้บุคคลใดเอาเปรียบผู้เยาว์นั้นไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้นกฎหมายจึงบัญญัติจำกัด ความสามารถของผู้เยาว์ในการใช้สิทธิในการทำกิจการใด ๆ โดยลำพัง เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้เยาว์โดยให้ผู้แทน โดยชอบธรรมกระทำการแทน หรือให้ความยินยอมในการกรทำใด ๆ ของผู้เยาว์เสียก่อน การกระทำกิจการนั้น จึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย จนกระทั่งเมื่อผู้เยาว์มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ถึงจะหลุดพ้นจากภาวะการเป็นผู้เยาว์ และข้อจำกัดอำนาจดังกล่าวจึงหมดสิ้นไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3