การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

11 เมื่อความสามารถในการทรงสิทธิและการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ถูกจำกัดไป และกฎหมายมิได้แบ่ง อายุของผู้เยาว์ไว้อย่างชัดเจนในการทรงสิทธิและการทำนิติกรรมของผู้เยาว์ไว้ เมื่อพิจารณาความรู้สึกผิดชอบ ย่อมสามารถแบ่งผู้เยาว์ได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้เยาว์ที่ยังไม่มีความรู้สึกผิดชอบ และผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิด ชอบแล้วรายละเอียดดังนี้ ผู้เยาว์ที่ยังไม่มีความรู้สึกผิดชอบ เป็นระยะที่ยังขาดความสามารถในการแสดงเจตนา จึงไม่อาจทำ กิจการใด ๆ อันมีผลทางกฎหมายได้เพราะยังไม่รู้สึกผิดชอบและยังไม่เข้าใจการกระทำของตน หากกระทำนิติ กรรม นิติกรรมนั้นไม่อาจเกิดขึ้นได้เพราะขาดเจตนา ดังนั้นจึงต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจกระทำ แทนผู้เยาว์ ในการแบ่งแยกผู้เยาว์ที่ยังไม่มีความรับผิดชอบว่าควรมีอายุเท่าใดนั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้อย่าง ชัดแจ้ง แต่พออนุมานได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทย มาตรา 25 ได้วางหลักไว้ว่า ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ อาจทำพินัยกรรมได้ หากอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำพินัยกรรมขึ้น พินัยกรรมดังกล่าวนั้นจะตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1703 จากบทบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือเอาบุคคลที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นเกณฑ์อายุพิจารณาเรื่องความรู้สึก ผิดชอบและมีความสามารถทำพินัยกรรมได้สมบูรณ์แล้ว เช่นเดียวกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ได้ กล่าวถึงความรู้สึกรับผิดชอบของบุคคลที่มีอายุกว่า 15 ปี หากกระทำความผิดในทางอาญาให้ศาลพิจารณาถึง ความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่มีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ทั้งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอาญาให้ความยอมรับในความรู้สึกรับผิดชอบแล้ว ผู้เยาว์ที่มีความรู้สึกผิดชอบแล้ว เป็นระยะที่ผู้เยาว์มีอายุมากขึ้น แต่ความรู้ ความสามารถ และ ไหวพริบปฏิภาณยังไม่สมบูรณ์พอที่จะใช้สิทธิตามลำพังได้ กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นบุคคลหย่อน ความสามารถ หากจะใช้สิทธิหรือทำกิจการใด ๆ ก็สามารถแสดงเจตนาทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องให้ ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนเสมอไป แต่ยังต้องอยู่ภายใต้การควบคุมช่วยเหลือของผู้แทนโดยชอบธรรมโดย ผู้แทนโดยชอบธรรมต้องให้ความยินยอมเสียก่อน นิติกรรมนั้นจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่มีนิติกรรมบาง ประเภทกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้อยกเว้นให้ผู้เยาว์ทำได้เองตามลำพังโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้แทนโดย ชอบธรรม เช่น นิติกรรมที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 สำหรับปัญหาว่าผู้เยาว์ อายุเท่าไรจึงสามารถทำนิติกรรมดังกล่าวได้ด้วยตนเองนั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ จึงต้องพิจารณาข้อเท็จจริง เป็นกรณีไป โดยอาศัยความรู้สึกผิดชอบเป็นเกณฑ์ (โชติช่วง ทัพวงศ์, 2527) ในส่วนของนิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้เองเฉพาะตัว (มาตรา 23) หมายความว่า นิติกรรมที่ ผู้เยาว์กระทำได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เช่น การทำพินัยกรรม (มาตรา 25) นิติกรรมที่สมควรแก่ฐานานุรูปและจำเป็นต่อการเลี้ยงชีพพอสมควร (มาตรา 24) นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้สิทธิ หรือหลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง (มาตรา 22) หากเป็นการกระทำนิติกรรมที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนเสมอ ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจเป็นบิดามารดาซึ่ง เป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองบุตร หรือบุคคลอื่นซึ่งถูกตั้งมาเพื่อปกครองผู้เยาว์ หากการกระทำใด ๆ ที่ผู้เยาว์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3